CLOSE

พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังมา ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมปรับตัวอย่างไรดี

ที่มาของรูป : https://pixabay.com/photos/pxclimateaction-climate-protection-7129875/

Climate Change เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่ใกล้ตัว ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกเป็นความเสี่ยงที่มนุษย์เราจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติรุนแรงกว่าเดิม 

ขณะที่ประเทศไทยของเราก็ได้มีร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนด หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีข้อตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดการปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG) สุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) 

หัวใจของ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
  • การรับมือกับความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันส่งเสริมประเทศไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าหากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาและบังคับใช้เป็นกฎหมายจะส่งผลดีต่อการลด GHG ของประเทศให้เหลือศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 
  • การปรับตัวของอุตสาหกรรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงมาตรการเกี่ยวกับค่าปรับในกรณีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โรงงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม
พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังเป็นร่างอยู่ในขณะนี้ คาดว่าหากมีการประกาศใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม และอุตสาหกรรมปุ๋ย ผลกระทบหลังจากการบังคับใช้ พ.ร.บ. คือ 
  • อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง จะต้องทำตามมาตรฐานใหม่ โดยจะต้องมีการตรวจวัด GHG หรือทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์เป็นประจำทุกปี ซึ่งเดิมนั้นไม่ได้บังคับแต่ให้เป็นไปตามความสมัครใจ แต่หลังจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฯ ใหม่ ทางหน่วยงานรัฐมีอำนาจในการขอข้อมูลตัวเลขการปล่อย GHG ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง 
  • ผลกระทบในด้านต้นทุน ผู้ประกอบการจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ในการตรวจวัดและรับรองปริมาณ GHG ทุกปีและถ้าหากว่าธุรกิจของท่านมีระบบงานหรือโครงสร้าง ขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน ต้องใช้เวลาในการตรวจวัดนานขึ้นและยากขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการจัดเก็บภาษีคาร์บอนตามกฎหมาย
  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานมาเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถเลือกเช่าหรือซื้อพื้นที่ประกอบการใน ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ที่เน้นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเชิงนิเวศ และมีมาตรฐานในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างเคร่งครัด 
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน สามารถเยี่ยมชมการพัฒนา ที่ดินนิคม ในรูปแบบใหม่และระบบการบริหารจัดการของ สวนอุตสาหกรรม 304 ซึ่งให้ความสำคัญอย่างมากกับการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยได้ร่วมมือกับบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) (NPS) ในการวางระบบไฟฟ้าให้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการดำเนินกิจกรรมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานมากที่สุด นอกจากนี้ภายใน ที่ดินนิคม304 ยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบของ Solar Floating รวมถึงโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมและกำลังการผลิตสูงถึง 398 เมกะวัตต์ ผู้ประกอบการสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อัพเดตความคืบหน้า พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียด โดยในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. 2567 หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เปิดให้มีการประชุมเพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะชนที่มีต่อร่าง พ.ร.บ. เพื่อเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2567 นี้ แต่จะประกาศใช้เมื่อใดนั้นคงต้องรอผลการพิจารณาของ ครม. อีกครั้งหนึ่ง

พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถรับมือกับปรากฎการณ์ Climate Change ได้ดีขึ้น เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบที่รุนแรงในอนาคต ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เป้าหมายสูงสุดของ พ.ร.บ. คือการนำพาประเทศไทยของเราไปถึงจุดที่เรียกว่า Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2065 ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้ก็จะมีความเข้มงวดมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการไม่ควรละเลยประเด็นที่เกี่ยวข้องและจะต้องคอยติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ สามารถติดต่อได้สำนักงานใหญ่ของเราที่จังหวัดปราจีนบุรี หรือที่ฉะเชิงเทรา พื้นที่ทั้งสองแห่งนี้มีบริการที่รองรับการลงทุนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการโรงงานให้เช่า บริการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์แบบ สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานเอง เราก็พร้อม ขายที่ดินนิคม304 ให้กับนักลงทุนที่สนใจด้วยเช่นเดียวกัน 

เมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาและประกาศเป็นกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจึงต้องปรับตัวเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่เป็นการทำตามมาตรฐานเท่านั้น การดำเนินธุรกิจในแนวทางอนุรักษ์จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาฐานการตลาดไว้ได้ในยุคของ Green Industry มีการสำรวจวิจัยพบว่า ธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง จะได้รับ feedback ที่ดีทั้งจากผู้บริโภคและผู้ร่วมลงทุน 
หากผู้ประกอบการรายใดพร้อมที่จะก้าวไปในเส้นทาง Green อย่างเต็มตัว  นิคมอุตสาหกรรม 304 ก็พร้อมที่จะสนับสนุนและนำพากิจการสู่ความสำเร็จในเป้าหมายเดียวกัน คือการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในอนาคตต่อไป

ที่มาข้อมูล :
  • https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-31
  • https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/SBUvol3No7-FB-2024-04-04.aspx
  • https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000021441