CLOSE

ไทย-จีน สัมพันธภาพที่รอการลงเอยอีกครั้งในสวนอุตสาหกรรมของไทย

ไทยมีสัมพันธภาพที่ดีกับจีนมาเนิ่นนาน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างเรานั้นถือเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ผู้ประกอบธุรกิจของจีนที่เก่งทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้เข้ามาลงทุนใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และแม้ว่าจะเกิดวิกฤตโควิด-19 จนทำให้จีนต้องปิดประเทศพร้อมกับนโยบาย Zero-COVID เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเราทั้งสองประเทศ รวมถึงประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์กับจีนอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อจีนมีการปลดล็อกนโยบายเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้สร้างความคาดหวังขึ้นอีกครั้งว่า กิจกรรมการลงทุนของจีนจะกลับเข้ามาสู่ประเทศไทย ผู้บริหารจัดการ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ทุกแห่งมีสิทธิได้ต้อนรับนักลงทุนจากภาคธุรกิจของจีนกันอีกระลอก

จีนมอง สวนอุตสาหกรรม ไทย อย่างไร
นักธุรกิจ และนักลงทุนจีนมองไทยว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพ สามารถเป็นฐานการผลิตสินค้าที่มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
  • ทำเลของประเทศ ไทยอยู่ไม่ไกลจากจีน การจะย้ายฐานการผลิตไม่ใช่เรื่องยาก และที่สำคัญคือไทยตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน รายล้อมด้วยประเทศเพื่อนบ้านที่พร้อมจะเป็นตลาดสินค้าขนาดใหญ่
  • ไทยมี ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม หลายแห่งทั่วทุกภูมิภาค ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีโครงสร้างพื้นฐานเหมาะที่จะรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ 
  • ระบบขนส่ง โลจิสติกส์ และระบบซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพ
  • นิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และนิคมใกล้เคียง อย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรม 304 ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี 11,700 ไร่ และในจังหวัดฉะเชิงเทราอีก 950 ไร่ ในสวนนี้จัดอยู่ในเขต EEC อนาคตอาจจะสามารถเชื่อมโยงกับเขตพิเศษหลินกังเซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเขตการค้าเสรีของจีน
  • นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายในการให้ความร่วมมือกับจีนเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนของทั้งสองประเทศ

ความเป็นไปได้ที่จีนจะตอบรับเข้ามาลงทุน ยังมีปัจจัยหนุนอีกหนึ่งข้อคือ สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบศึก ซึ่งคาดว่าจะทำให้จีนตัดสินใจย้ายฐานการผลิตเข้ามายัง ที่ดินนิคม ในไทย ส่วนทางด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ได้มีถ้อยแถลงถึงความเชื่อมั่นว่า การลงทุนจากจีนจะเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้นหลังจากเปิดประเทศ อีกทั้ง กนอ. ยังได้ร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ในการทำโรดโชว์ส่งเสริมการลงทุนในช่วงเดือนเมษายน 2566 ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักธุรกิจชาวจีนเข้าร่วมงานหลายร้อยราย  

ธุรกิจเด่นของจีน ความเป็นไปได้ที่จะสร้างฐานการผลิตใน นิคมอุตสาหกรรม
ปีที่ผ่านมา นักลงทุนจากประเทศจีนได้มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยมากที่สุดกว่าประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และภายหลังจากที่บีโอไอร่วมกับ กนอ. ได้จัดโรดโชว์ไปแล้วก็ยังได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้นอีกด้วยว่า จะมีอุตสาหกรรมของจีนอีกหลายประเภทที่เลือก ที่ดินนิคม ในไทยเป็นฐานการผลิต อุตสาหกรรมที่เด่นสุดคือ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งทางคณะเดินทางของไทยที่ไปโรดโชว์ครั้งนั้นก็ได้มีโอกาสพบปะเจรจากับผู้ผลิตยานยนต์ระดับบิ๊กของจีนหลายราย อาทิ Changan Automobile, Geely, Jiangling Motors ผู้ผลิตแต่ละรายได้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย นอกจากนี้กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับยานยนต์และอุปกรณ์สื่อสารก็เป็นธุรกิจดาวเด่นของจีนอีกประเภทหนึ่งที่มีแนวโน้มจะเข้ามาขยายฐานผลิตที่ไทย ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่คาดก็จะสอดคล้องกันกับฐานลูกค้าในปัจจุบันของนิคมอุตสาหกรรมอย่าง สวนอุตสาหกรรม 304 มีลูกค้าที่เปิดดำเนินการในพื้นที่อยู่ก่อนแล้วเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์อยู่หลายรายด้วยกัน สามารถให้ความเกื้อกูลธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกันได้

อนาคตของนิคมอุตสาหกรรมไทยกับการลงทุนของต่างชาติ
นอกจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของจีนที่ให้ความสนใจนิคมอุตสาหกรรมไทยแล้ว ประเทศอื่นในแถบยุโรป สหรัฐ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ประเทศใกล้เคียงในเอเชียด้วยกันก็ให้ความสนใจไทยเรามากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้ธุรกิจจัดสรร และ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ในไทยของเรากลับมามีอนาคตที่สดใสไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของการลงทุนในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม อนาคตของนิคมอุตสาหกรรมจะสามารถดึงนักลงทุนต่างชาติได้มากยิ่งขึ้นไปอีก หากมีการพัฒนาในด้านต่อไปนี้
  • พัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของ Smart Park ประกอบด้วยเทคโนโลยีทันสมัย 
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบพลังงานให้มีประสิทธิภาพ 
  • ระบบการขนส่ง โลจิสติกส์มีความเชื่อมโยงกับตลาดที่รองรับการจำหน่ายสินค้า
  • พัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกับซัพพลายเชนต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เป็นพันธมิตรกับธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
  • สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนหากไม่ทำลายธรรมชาติ

ที่ดินนิคม304 พื้นที่ยุทธศาสตร์ในการลงทุนซึ่งมีศักยภาพทั้งในเรื่องทำเล และองค์ประกอบอื่น ๆ นิคมแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของ 2 จังหวัดคือปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา พื้นที่ส่วนหนึ่งของนิคมจะอยู่ในเขต EEC และสามารถเชื่อมต่อกับทางหลวงเส้นหลักในโครงการอนุภูมิภาคอินโดจีน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นโรงงานผลิตยานยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันเปิด ขายที่ดินนิคม304 ให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ พร้อมให้บริการแบบครบวงจร สำหรับผู้สนใจเยี่ยมชมธุรกิจ สามารถคลิกที่เว็บไซต์ https://www.304industrialpark.com/th/ 

ที่มาข้อมูล