3 ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่นักลงทุนควรเฝ้าระวัง ในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
หากใครได้มีโอกาสได้ไปเดินดูตามตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งค้าขายชั้นนำในแต่ละพื้นที่ของประเทศ มักจะได้ยินเสียงบ่นจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจำนวนมาก เกี่ยวกับเศรษฐกิจไม่ดี ค้าขายไม่ได้เลย มีคนเดินมากกว่าคนซื้อ ของแพงขึ้นคนคงไม่กล้าซื้อ นั่นเพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังชะลอตัวหรือสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำจนแทบจะไม่เติบโตเลย สืบเนื่องมาจากรายได้ของประชากรและผู้ประกอบการคงที่หรือแทบจะไม่ขยับ ในขณะที่สินค้าและบริการมีการปรับตัวขึ้นสูง รายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่ายทำให้หลายครอบครัวต้องประหยัด ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นตรงที่ไม่มีใครสามารถระบุได้เลยว่าสภาพเศรษฐกิจจะฟื้นกลับขึ้นมาดีเมื่อใด จึงเป็นที่มาให้ทุกคนเฝ้าระวังถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่
1. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจัยความเสี่ยงที่นักลงทุนควรเฝ้าระวัง
1. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจและการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการเมืองโลกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศจีนที่นับวันเริ่มจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ล่าสุดกระทรวงพานิชย์ของจีนประกาศห้ามส่งออกแร่แกลเลียม (Gallium) และ เจอร์เมเนียม (Germanium) ออกนอกประเทศโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่กำลังเตรียมพิจารณาข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการส่งออกชิปไปยังประเทศจีน ซึ่งชิปดังกล่าวมีผลต่อกระบวนการผลิตรถ EV, อุปกรณ์สื่อสาร, ทีวี, แผงโซล่าร์เซลล์ และโทรศัพท์มือถือ
2. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นสูง
ความเสี่ยงดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯและยุโรป รวมถึงประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก เพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนดำเนินกิจการและการลงทุนปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะถือเป็นภาระที่ส่งผลกระทบต่อกิจการและนักลงทุนโดยตรง
3. วิกฤตเอลนีโญ่หรือปรากฏการณ์ภัยแล้ง
วิกฤตเอลนีโญ่หรือภัยแล้งถือเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมที่ทำให้บางพื้นที่ประสบปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ทั้งโรค หนอนและแมลง ในส่วนของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ก็ได้รับผลกระทบจากความร้อนในอากาศเพิ่มสูงขึ้น เช่น ไก่ไข่ เกิดความเครียดทำให้ไม่สามารถออกไข่ตามจำนวนที่ต้องการ มีการเสียชีวิตในสุกรที่ฟาร์มไม่มีระบบระบายความร้อนได้ดี นำพาซึ่งการระบาดของโรคในสัตว์ ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตบางชนิดด้วยเช่นกัน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าการเกษตร อุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต เป็นต้น ดังนั้นการเลือก สวนอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโรงงานหรือเช่าโรงงานสำเร็จรูปจึงมีความสำคัญไม่น้อยต่อธุรกิจหรืออุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังจะลงทุน
วิธีการรับมือจากปัจจัยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการลงทุน
- สำรวจเงินสำรองฉุกเฉิน
ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวการมีเงินสำรองในระยะยาวย่อมมีความได้เปรียบ เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อใด การมีเงินทุนสำรองฉุกเฉินสำหรับธุรกิจอย่างน้อย 12 เดือน จึงมีความจำเป็นไม่น้อย เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนอยู่รอดในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย - หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อัตราดอกเบี้ยคงที่ ไม่ลอยตัว
หากใครที่เผชิญวิกฤตต้มยำกุ้งมาก่อนจะรู้ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัวส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจขนาดไหน แม้การกู้เงินจะเป็นทางเลือกสุดท้ายของนักลงทุน ควรเลือกแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุดและต้องเป็นดอกเบี้ยคงที่ ไม่ลอยตัว เพื่อป้องกันปัญหาความผันผวนของดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ในปัจจุบัน - มองหาทำเลที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิต
ปัจจุบันการลงทุนเพื่อสร้างโรงงานมีต้นทุนค่อนข้างสูง จึงขอแนะนำให้มองหาทำเลที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิต หาแรงงานได้ง่าย มี Supplier และลูกค้าภายใน ไม่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบ อาทิ 304IP ซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพ มีพื้นดินที่แข็งเหมาะแก่การสร้างโรงงาน ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้มากถึง 20% อยู่ใกล้วัตถุดิบ หาแรงงานได้ง่ายในอัตราค่าจ้างที่ไม่สูงมากนัก สามารถที่จะช่วยลดต้นทุนในช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจลงได้
