CLOSE

ESG ยังจำเป็นอยู่หรือ ทำไมนักลงทุนไทยถึงควรให้ความสำคัญ

การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental)  สังคม (Social)  และธรรมาภิบาล (Governance)  หรือที่หลายคนเรียกสั้น ๆ ว่า ESG เป็นแนวคิดการบริหารจัดการองค์กรที่มีการพูดถึงมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งนำมาพูดถึงครั้งแรกในรายงานหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ (United Nation’s Principles for Responsible Investment :PRI) โดยหัวใจของแนวคิดนี้คือ การบริหารจัดการองค์กรโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการโปร่งใส  

แนวคิด ESG ฉบับ 2567 คืออะไร 
แม้ว่า ESG จะเป็นแนวทางการบริหารจัดการองค์กรหรือ นิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้มาหลายปี แต่ที่ผ่านมานำมาใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสนับสนุนการลงทุนให้กับภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ ส่งผลให้ในปี 2567 หลายประเทศวางแผนดำเนินการภายใต้หลัก ESG มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
  • การวางกฎหมาย ข้อกำหนด หรือข้อบังคับให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG โดยปัจจุบันเริ่มมีประกาศใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยในสหภาพยุโรป (ข้อบังคับว่าด้วยการรายงานความยั่งยืนขององค์กร : CSRD) ประเทศสหรัฐอเมริกา (กฎหมาย Clean Competition Act หรือ US-CBAM และมาตรการภาษีคาร์บอน พ.ร.บ. การเปิดข้อมูลสภาพภูมิอากาศของรัฐแคลิฟอร์เนีย) ส่วนประเทศเองก็มีแนวโน้มออกกฎหมายและข้อกำหนดที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันมาใช้กับองค์กรและ นิคมอุตสาหกรรม ในไม่ช้าเช่นเดียวกัน 
  • การวางนโยบายทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางสังคมและความเสมอภาคโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน  เช่น การวางระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ การจ้างงานผู้สูงอายุ หรือการจ้างงานผู้พันโทษจากเรือนจำ เป็นต้น
  • การให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อม โดยนอกเหนือจากการพยายามลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ตามนโยบายที่ทั่วโลกกำลังพยายามอยู่นั้น ยังเน้นไปที่การใช้วัสดุทดแทนวัตถุจากธรรมชาติ การใช้ซ้ำ การนำกลับมารีไซเคิล เพื่อลดผลกระทบกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด

เหตุใด ESG ยังคงสำคัญต่อการทำธุรกิจ
ESG ยังคงสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท เพราะนอกจากจะมีการออกกฎหมาย ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดธุรกิจ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าแนวคิด ESG จะเป็นเทรนด์หลักในการบริหารองค์กรทั่วโลก เนื่องจากมีการสำรวจว่ากว่า 49% ของคนรุ่นใหม่ในช่วง Gen Z (เกิดระหว่างปี 2541 – 2565) มีแนวโน้มสนับสนุนธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จึงจำเป็นต้องปรับและเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า นอกจากนั้นในมุมมองของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยยังมีการนำหลัก ESG มาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาร่วมลงทุนภายใต้กรอบความคิด “Who Cares Earns” ยิ่งใส่ใจยิ่งได้รับมาก ดังนั้นบริษัทที่มีการลงทุนอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จึงมีโอกาสได้รับการสนับสนุนมากกว่าบริษัทที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

หนทางนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ESC
เนื่องด้วย ESC เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพราะฉะนั้นการบรรลุเป้าหมาย ESG จึงต้องผลักดันกรอบทั้ง 3 ด้านไปพร้อม ๆ กัน ดังต่อไปนี้
  • การปรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการสร้างผลกระทบต่อธรรมชาติและสอดรับกับข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น การลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด หรือการเลือกตั้งโรงงานใน สวนอุตสาหกรรม ที่มีการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • การส่งเสริมนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสังคม เช่น การจ้างงานอย่างเป็นธรรม การดูแลคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร การถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน เป็นต้น
  • การวางกรอบการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้ การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ESG เป็นแนวคิดที่นักลงทุนไทยควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเทรนด์การบริหารจัดการที่ทั่วโลกให้ความสำคัญแล้ว ยังส่งผลดีต่อธุรกิจในเรื่องของภาพลักษณ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความเสมอภาค และความโปร่งใสด้วย ซึ่งหากองค์กรใดยังไม่เริ่มต้น ควรเริ่มต้นกับสวนอุตสาหกรรม 304 สวนอุตสาหกรรม  ที่ให้ความสำคัญด้าน Renewable Energy หรือพลังงานหมุนเวียน โดยร่วมมือกับบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าภายในอุตสาหกรรม 304 โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ หรือ Solar Floating โดยในปี 2567 จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 150 MW อีกทั้งยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กำลังการผลิต 398 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมตอบโจทย์แนวคิด ESG และมอบสิ่งแวดล้อมที่ดีคืนให้โลกได้

ที่มาข้อมูล