อย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าทั่วโลกเป็นกังวลเรื่องภาวะโลกร้อน เพราะปัจจุบันโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 420 ppm ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง กระบวนการผลิตใน
นิคมอุตสาหกรรม และการตัดต้นไม้ทำลายป่า ทำให้ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 องศาเซลเซียส และที่สำคัญมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายและเกิดปัญหาการแปรปรวนของธรรมชาติมากขึ้นตามมาในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ‘Net zero carbon’ จะกลายเป็นหนึ่งในนโยบายที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ แต่ Net zero carbon คืออะไรและมีแนวทางอย่างไรบ้างนั้น เรามีคำตอบมาฝาก
ความหมายของ Net zero carbon
Net zero carbon คือ นโยบายการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิจากภาคอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ แต่ทั้งนี้คำว่าเป็น “ศูนย์” นั้นไม่ได้แปลว่าไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เลย เนื่องจากเป็นไปได้ยากในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นความจริงแล้ว Net zero carbon จึงหมายถึงการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เท่ากับปริมาณที่ปล่อยออกไปสู่บรรยากาศ เพื่อให้ผลสุทธิของคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ สำหรับเป้าหมาย Net zero carbon มีขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 -2 องศาเซลเซียส โดยนโยบายนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงปารีสที่ลงนามให้คำมั่นสัญญาโดย 197 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
แนวทางมุ่งสู่ Net zero carbon ที่ทุกองค์กรต้องรู้
ตามเป้าหมายของ Net zero carbon จะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมและ นิคมอุตสาหกรรม โดยตรง เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้หลาย ประเทศเริ่มมีการกำหนดนโยบาย หรือข้อกฎหมายที่นำไปสู่ความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อย่างการใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนหรือ CBAM ของสหภาพยุโรปที่จะมีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2026 ดังนั้นอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่งแนวทางมุ่งสู่ Net zero carbon ที่ทุกองค์กรต้องรู้มีดังนี้
การทำมาตรฐาน Carbon ของหน่วยงาน โดยมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่
- Carbon Footprint Organization (CFO) หรือการประเมินปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซด์
- Carbon Footprint Product (CFP) การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการผลิต
• วางแนวทางการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปลูกป่าผ่านองค์กรที่อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ (Carbon Credit) หรือใช้วิธีการซื้อขายใบรับรองผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates : RECs)
• บริหารจัดการในระดับการผลิต เช่น การใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต หรือเลือก สวนอุตสาหกรรม ที่มีการบริหารจัดการพลังงานที่สอดคล้องกับนโยบาย Net zero carbon เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว นโยบาย Net zero carbon เกิดขึ้นเพื่อรักษาโลกให้ดีขึ้นผ่านการร่วมมือกันของทุกหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ในความจริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากองค์กรใดเพียงองค์กรเดียว แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ซึ่งหากกำลังมองหาสถานที่ตั้งโรงงานที่สอดคล้องกับนโยบาย Net zero carbon แนะนำ สวนอุตสาหกรรม 304 สวนอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนด้าน Renewable Energy หรือพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น biomass ที่มีกำลังการผลิตรวม 398 MW อีกทั้งยังมี Solar Floating ที่มีกำลังการผลิตรวม 150 MW พร้อมส่งมอบพลังงานสะอาดให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องการตอบรับนโยบาย Net zero carbon พร้อมร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กับคุณ
ที่มาข้อมูล