ปิด

พาส่องเทรนด์รถ EV กับทิศทางของนิคมอุตสาหกรรมไทยในการเป็นแหล่งผลิต No.1

พาส่องเทรนด์รถ EV กับทิศทางของนิคมอุตสาหกรรมไทยในการเป็นแหล่งผลิต No.1
อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยเล็งเป้าส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางการผลิตขึ้นในไทย  ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตรถ EV ของต่างชาติก็ได้เข้ามาซื้อ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ในประเทศเราเพื่อตั้งโรงงานผลิตรถและขยายไลน์การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV กันอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการยืนยันได้อย่างหนึ่งว่าต่างชาติมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย 

ทิศทางของรถ EV การสนับสนุนของภาครัฐเพื่อผลักดันตลาดรถ EV
ปี ค.ศ. 2023 ตลาดรถ EV มีแนวโน้มเติบโตขึ้นโดยเฉพาะรถประเภท BEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ เริ่มมีส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้น โดยมีแรงหนุนจากภาครัฐช่วยผลักดันการพัฒนา ที่ดินนิคม ในประเทศไทยให้มีศักยภาพพอที่จะเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้แผนงานที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้ตั้งเป้าไว้ว่า ปี ค.ศ.2030 ประเทศไทยจะผลิตรถ EV ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะให้ได้ 725,000 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 675,000 คัน รถบัส/รถบรรทุกไฟฟ้า 34,000 คันให้ได้ในปี ค.ศ.2030 
จากทิศทางดังกล่าว อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็น Supply Chain ที่สำคัญจะได้รับผลพลอยได้จากการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าและมีโอกาสในการเติบโตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
  • แบตเตอรี่ 
  • แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
  • มอเตอร์ไฟฟ้า
  • ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเหล่านี้ มีโอกาสขยายตัวเพื่อรองรับการผลิตรถ EV แม้ว่า ณ ปัจจุบัน การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ยังมีอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนราคาวัสดุในกลุ่มโลหะในช่วงปีนี้และปีหน้า (ค.ศ. 2023  และ ค.ศ. 2024 )ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย (ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ปี ค.ศ.2018-ค.ศ. 2022) อยู่ถึง 14-28% แต่ถ้าจะมองกันยาว ๆ ตามเทรนด์ของรถ EV ที่กำลังก้าวไปข้างหน้าอยู่นี้ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ไฟฟ้าก็ยังคงมีความเป็นไปได้สูง ประกอบกับการพัฒนาในส่วนของ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่พร้อมเป็นศูนย์กลางจัดตั้งโรงงานผลิตที่มีศักยภาพ บวกกับไทยเรามีผู้ผลิตรายเดิมที่คร่ำหวอดในประสบการณ์การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อยู่มาก ขณะเดียวกันทางภาครัฐก็พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของอุตสาหกรรมจึงค่อนข้างชัดเจนว่าไปต่อได้  

การเข้ามาของผู้ผลิตต่างชาติ ตั้งฐานการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
ในอนาคตอันใกล้จะเริ่มมีค่ายรถจากประเทศอื่น ๆ ทยอยเข้ามาสร้างโรงงานเพิ่มใน ที่ดินนิคม ของไทย อุตสาหกรรมผลิตรถ EV ในปี ค.ศ. 2024 มีแนวโน้มจากหลากหลายค่ายรถเข้ามาลงทุน เนื่องจากปัจจัยหนุนหลายด้าน
  • นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลต่างๆที่สนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 
  • ตลาดเปิดกว้าง กลุ่มลูกค้าผู้ซื้อรถขยายตัว เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกลง 
  • ศักยภาพของผู้ผลิต ล้วนแล้วแต่เป็นค่ายรถระดับบิ๊กที่แข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้น 
  • การขยายตัวของบริการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็น ได้แก่ สถานีบริการชาร์จแบตเตอรี่  
  • โลเคชั่นของนิคมอุตสาหกรรม ความพร้อมของโรงงานสำเร็จรูปและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทยเข้ามาลงทุนซื้อ
บทบาท BOI ด้านความร่วมมือกับค่ายรถยนต์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
การดำเนินงานของบีโอไอมีความสอดคล้องกับมาตรการพัฒนาพื้นที่ในนิคมต่าง ๆ โดยมีแผนการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าหลายประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีรถจักรยานไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถเมล์/รถบัส/รถบรรทุกไฟฟ้า เรือไฟฟ้า รวมถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบต่าง ๆ มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิด Supply ของผู้ผลิตให้เข้ามาตั้งฐานใน ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม

บีโอไอไม่ได้สนใจแค่ด้านการลงทุนเท่านั้น แต่ยังมีมาตรการที่ช่วยส่งเสริมด้านการตลาด กระตุ้นให้เกิด Demand หรือความต้องการของประชาชนให้ซื้อและใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย

การเตรียมพร้อมของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับเป็นแหล่งอันดับ1ในอาเซียน
ประเทศไทยจะเป็น EV Hub ได้หรือไม่ นอกจากตัวแปรในด้านการตลาดแล้ว ตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ศักยภาพในการพัฒนา พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยานยนต์สันดาปมาอย่างยาวนาน เขตอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศรายล้อมไปด้วยโรงงานผลิตยานยนต์ของค่ายรถรายใหญ่ มีการจัดการด้านทรัพยากร แรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านิคมอุตสาหกรรมของเรามีประสบการณ์และองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นทุนเดิมอยู่เต็มตัว พร้อมที่จะต่อยอดไปสู่ความเป็นหนึ่งด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งโลกอนาคตได้ 

สวนอุตสาหกรรม 304 มีการพัฒนาที่ดินเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ขนาดพื้นที่ที่มีอยู่เพียงพอต่อการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีโรงงานที่ก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยพร้อมเปิดให้เช่าทำกิจการโรงงานได้ทันที ผู้ประกอบการจะได้รับการอำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคที่ครบวงจร และเรายังมองเห็นความสำคัญของการยกระดับ ที่ดินนิคม304  ให้มีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเติบโตอีกด้วย

การขจัดปัญหาและอุปสรรคของนิคมอุตสาหกรรมและ เรื่องแรงงานการผลิต
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของยานยนต์แบบเดิมกับยานยนต์แห่งอนาคตคือเทคโนโลยี ซึ่งยังต้องพัฒนาต่อไป เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยบางอย่างอาจเป็นเรื่องท้าทายในการที่จะเรียนรู้ ดังนั้น การพัฒนาในด้าน Know How ทางเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยสำคัญของนิคมอุตสาหกรรม และเนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาในอีกมิติหนึ่งซึ่งก็คือ เรื่องของแรงงานการผลิต จำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานจะต้องเรียนรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว 

นิคมอุตสาหกรรม 304 พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมไทยในการก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ EV ที่แข็งแกร่ง และพร้อมรองรับอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ต้องการขยายฐานการผลิต สำหรับผู้ประกอบที่กำลังวางแผนสร้างโรงงาน ขอเชิญเข้าชมเว็บไซต์เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับการ ขายที่ดินนิคม304 ได้ที่ https://www.304industrialpark.com/th/

ที่มาข้อมูล