ปิด

ทำความรู้จัก โลจิสติกส์สีเขียว กับแนวทางจัดการที่ผู้ประกอบการควรรู้

Discover Green Logistics: Key Strategies Every Entrepreneur Should Know
‘โลจิสติกส์สีเขียว’  เป็นหนึ่งในแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกพูดถึง เนื่องจากภาคการขนส่งถือเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยมลพิษ แต่โลจิสติกส์สีเขียวคืออะไร มีแนวทางจัดการหรือซื้อ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม อย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก

ความหมายของคำว่าโลจิสติกส์สีเขียว 
โลจิสติกส์สีเขียว หรือ Green Logistic คือ แนวคิดในการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ ตั้งแต่การขนส่ง การจัดการคลัง การขนถ่าย การบรรจุภัณฑ์ การดำเนินการสั่งซื้อ ไปจนถึงการบริการลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้

  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
เรียกว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักของแนวคิดโลจิสติกส์สีเขียว สำหรับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะอย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าภาคการขนส่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ธรรมชาติ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งจากข้อมูลมีรายงานว่าการขนส่งทางเครื่องบินมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 3% การขนส่งทางเรือประมาณ 2% และการขนส่งทางรถบรรทุกประมาณ 4% โดยคาดการณ์ว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าภายในปี พ.ศ. 2593 ดังนั้นการจัดการโลจิสติกส์จึงเป็นหนทางช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยชะลอการเกิดภาวะโลกร้อนได้
  • เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยชะลอความเสียหายของธรรมชาติแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ในแนวทางโลจิสติกส์สีเขียวตั้งแต่กระบวนการต้นทางถึงปลายทาง รวมถึงกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับหรือ (Reverse Logistics) ยังทำให้เกิดใช้ทรัพยากรธรรมชาติในแง่ของวัตถุดิบและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ประโยชน์ของโลจิสติกส์สีเขียวต่อองค์กร
ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของโลจิสติกส์สีเขียวจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ถึงอย่างนั้นยังมีประโยชน์ต่อองค์กรเช่นกัน ได้แก่
  • รองรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของนานาชาติ
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยมีการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 ในต่างประเทศเองได้มีการกำหนดจุดยืนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน อย่างคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ออกมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือร้อยละ 55 ภายในปี 2030 หรือ European Green Deal โดยมีการร่างกฎหมายออกรองรับอย่างชัดเจน ซึ่งหนึ่งในกฎหมายสำคัญคือ มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือกระจกสูงเข้าสู่ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป เพราะฉะนั้นการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ
  • ลดต้นทุนกระบวนการขนส่ง
แน่นอนว่าการจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนของกระบวนการขนส่งและอาจก่อให้เกิดการสร้างผลกำไรในระยะยาว สำหรับตัวอย่างการจัดการง่ายที่หลาย ๆ บริษัทนำมาใช้ เช่น การเปลี่ยนจากรถน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นการใช้รถพลังงานไฟฟ้า การวางแผนการเดินทางจาก พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือพื้นที่อุตสาหกรรม ไปยังปลายทาง การใช้ระบบนำทาง การวางระบบเส้นทางอัตโนมัติ (VRP) หรือระบบวิเคราะห์สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดเวลาในการขนส่งแล้ว ยังช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย
  • เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพราะการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นเรื่องของทุกประเทศ ทุกองค์กร และทุกคน ด้วยเหตุนี้การปรับแนวทางโลจิสติกส์จึงเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในสายตาของทั้งพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้า อีกทั้งยังอาจช่วยดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมให้มาสนใจแบรนด์มากยิ่งขึ้น

แนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่โลจิสติกส์สีเขียว
จากข้อมูลจะเห็นว่าโลจิสติกส์สีเขียวเป็นประโยชน์กับโลกและองค์กร แต่นอกจากนโยบายภาครัฐการปรับปรุงการขนส่งให้เป็นไปตามแนวคิดโลจิสติกส์สีเขียวต้องอาศัยการดำเนินการหลายแนวทางประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น
  • การปรับโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับแนวทางแรกของโลจิสติกส์สีเขียวคือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้ออำนวยต่อการขนส่ง เช่น การเลือก ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมหลักเพื่อความสะดวกในการขนส่ง ปรับปรุงสาธารณูปโภคใน ที่ดินนิคม ให้อยู่ในสภาพดี หรือเลือกพื้นที่ตั้งที่มีความพร้อมเรื่องพลังงานสะอาด อย่าง สวนอุตสาหกรรม 304 ที่มีการจัดโครงสร้างภายใต้แนวความคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town
  • การปรับรูปแบบการขนส่งสินค้า
ในการปรับรูปแบบขนส่งสามารถทำได้ทั้งการปรับเปลี่ยนวิธี ด้วยการเลือกวิธีที่ปล่อยวิธีการขนส่งที่ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด อย่างการใช้รถไฟฟ้าหรือการขนส่งทางรางด้วยรถไฟ ส่วนอีกวิธีคือ การขนส่งสินค้าร่วมกันหรือ Joint Transportationก เป็นการรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบหลายเจ้า ซึ่งลดพื้นที่ว่างและจำนวนพื้นที่ว่างในการขนส่ง แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักนิยมใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพราะสะดวกสำหรับผู้ประกอบการขนส่ง
  • การจัดวางตำแหน่งคลังสินค้า
เพื่อช่วยลดระยะทางและระยะเวลาในการขนส่ง การจัดวางตำแหน่งคลังสินค้าในจุดที่เหมาะสมหรือรวมสินค้าไว้ที่จุดพักสินค้าเดียวเป็นอีกแนวทางที่ผู้ประกอบการทำได้ง่าย ๆ ดังนั้นแนะนำให้เลือก ที่ดินนิคมหรือพื้นที่สำหรับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถเป็นเจ้าของได้ อย่างเช่น สวนอุตสาหกรรม 304 ที่ผู้ประกอบสามารถเช่าหรือซื้อที่ดินได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดวางโครงสร้าง
  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ 
นอกจากปรับปรุงโครงสร้าง วิธีการ และเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมอย่าง นิคมอุตสาหกรรม  แล้ว การนำเทคโนโลยี อย่างเครื่องจับมลพิษจากท่อไอเสีย เครื่องวัดความเร็ว ระบบติดตามรถขนส่งแบบเรียลไทม์มาใช้ก็จะช่วยให้บริหารจัดการด้านการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยมลพิษได้ดียิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโลจิสติกส์สีเขียวที่เรานำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งแล้ว ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรอีกด้วย แต่สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มด้วยการเลือก ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ที่มีความพร้อมทั้งสาธารณูปโภค การขนส่ง และเรื่องพลังงานสะอาด อย่าง ที่ดินนิคม304 ถือเป็นทางเลือกตอบโจทย์และสะดวกมากเช่นกัน

ที่มาข้อมูล 
  • https://www.nostralogistics.com/2024/02/9214/
  • https://www.salika.co/2023/10/28/howto-turn-logistic-industry-in-sustainability-way/
  • https://www.dhl.com/discover/-th/logistics-advice/sustainability-and-green-logistics/what-is-green-logistics
  • https://www.skyfrog.net/home/get-to-know-green-logistics/
  • https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-74
  • https://setsustainability.com/libraries/1035/item/european-green-deal
  • https://www.cogistics.co.th/th/blog/knowledge/green-logistics-โลจิสติกส์สีเขียว/
  • https://www.304industrialpark.com/th/
  • https://meredithmandel.com/6-industries-to-watch/