ปิด

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

Development Project of Laem Chabang Port Phase 3
Development Project of Laem Chabang Port Phase 3

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการเชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ( กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ) และประเทศจีนตอนใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค และเตรียมผลักดันให้เป็นท่าเรือชั้นนำของโลก

ที่มา : ข้อมูลโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ความเป็นมาของท่าเรือแหลมฉบัง

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลงฉบัง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อจำกัดของการขนส่งสินค้าของท่าเรือกรุงเทพ (หรือท่าเรือคลองเตย) ที่เริ่มไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่และขยายการรองรับตู้สินค้าได้อีก ทำให้ในปี 2504 กทท. จึงริเริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขึ้น แต่โครงการชะลอไปจนกระทั่ง พ.ศ. 2516 จึงมีการเวนคืนที่ดินบริเวณ ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา และ ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี บนพื้นที่ขนาด 6,340 ไร่ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 18 ปี จึงเปิดให้บริการท่าเรือแหลมฉบังในปี 2534 ปัจจุบันมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังมาแล้วในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ดังนี้

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1


วัตถุประสงค์

เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มศักยภาพในการรองรับเรือที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพได้

จำนวนท่าเทียบเรือ

มีทั้งหมด 11 ท่าเรือ แบ่งเป็น

  • ท่าเทียบเรือตู้สินค้า                                         5 ท่า 
  • ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์                                 3 ท่า
  • ท่าเทียบเรือโดยสารและท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro)  1 ท่า
  • ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro)                              1 ท่า
  • ท่าเทียบเรือประเภทเทกอง (น้ำตาลและกากน้ำตาล)   1 ท่า

ความสามารถรองรับสินค้า

4.0 ล้านตู้ต่อปี


ที่มา : http://laemchabangportphase3.com/port_02.html

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2


วัตถุประสงค์

เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 6.8 ล้านตู้ต่อปี

จำนวนท่าเทียบเรือ

มีทั้งหมด 7 ท่าเรือ แบ่งเป็น

  • ท่าเทียบเรือตู้สินค้า                                   6 ท่า
  • ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro) และเรือสินค้าทั่วไป 1 ท่า

ความสามารถรองรับสินค้า

6.8 ล้านตู้ต่อปี


ที่มา : http://laemchabangportphase3.com/port_03.html

จากข้อมูลในปี 2559 พบว่า มีปริมาณตู้สินค้าที่ถูกขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ประมาณ 7 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์อีกประมาณ 1 ล้านคันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 70 ของขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 1 และระยะที่  2 ที่รองรับตู้สินค้าได้สูงสุดที่ประมาณ 11 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคันต่อปี จึงเป็นที่มาของการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่         3         


ที่ตั้งโครงการ

ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (เนื้อที่ 1,600 ไร่) 

วัตถุประสงค์

1) เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น 18.1 ล้านตู้ต่อปี
(จากเดิม 7.7 ล้านตู้ต่อปี)
2) เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทางรถยนต์ได้ถึง 3 ล้านคันต่อปี
(จากเดิม 2 ล้านคันต่อปี)
3) เพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าผ่านท่าโดยรถไฟทั้งหมดของท่าเรือแหลมฉบัง
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 (จากเดิมร้อยละ 7) เพื่อขนส่งตู้สินค้าผ่านทางชายฝั่งและทางรถไฟ เพื่อบรรเทาการจราจรแออัดบริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง  

จำนวนท่าเทียบเรือ

มีทั้งหมด 6 ท่าเรือ และ 1 สถานีรถไฟ แบ่งเป็น

  • ท่าเทียบเรือตู้สินค้า                                   4 ท่า

(สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 7 ล้านตู้ต่อปี)

  • ท่าเทียบเรือขนส่งรถยนต์ (Ro-Ro)                 1 ท่า

(สามารถรองรับรถยนต์ผ่านท่าได้ 1 ล้านคันต่อปี)

  • ท่าเทียบเรือชายฝั่ง                                   1 ท่า

(สามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 1 ล้านตู้ต่อปี)

  • สถานีขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ                         1 ท่า

(สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 4 ล้านตู้ต่อปี)

ความสามารถรองรับสินค้า

ประมาณ 18.1 ล้านตู้ต่อปี


ที่มา : ข้อมูลโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ซึ่งหากท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เปิดให้บริการครบทุกท่าเทียบเรือและสถานีขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ จะทำให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้สูงสุดถึง 18.1 ล้านตู้ต่อปี อีกทั้ง ยังสามารถเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) นำไปสู่การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศแบบไร้รอยต่อ ทั้งการขนส่งสินค้าแบบถ่ายลำเรือ (Transhipment) และการขนส่งสินค้ารูปแบบรางรถไฟ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กลุ่ม CLMV และจีน

ความคืบหน้าของการลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นประมาณ 1.5 แสนล้านบาท โดยจะมีรูปแบบการดำเนินการแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) มีระยะเวลาการดำเนินโครงการนับตั้งแต่การก่อสร้างและให้บริการรวมประมาณ 30-50 ปี โดยมีแผนการก่อสร้าง 8 ปี คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2568

ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาและสำรวจผลกระทบต่างๆ ของโครงการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม รวมถึงรายละเอียดผลตอบแทนของโครงการ โดยให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของการท่าเรือแห่งประเทศไทยประเมินผลโดยละเอียด เพื่อให้เกิดผลกระทบทางลบน้อยที่สุด

โดยโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งสินค้าทางน้ำให้แก่ประเทศ เพื่อเน้นย้ำถึงจุดยืนการเป็นเกตเวย์หลักในภูมิภาค การเป็นศูนย์กลางทางการค้า อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นท่าเรือน้ำที่ล้ำสมัยด้วยการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนผสมผสานให้เป็นท่าเรือที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม
Development Project of Laem Chabang Port Phase 3

ที่มา : https://www.prachachat.net/local-economy/news-123335

แหล่งที่มา :
https://www.eeco.or.th/โครงการ/การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/โครงการพัฒนาท่าเรือ-แหลมฉบัง-ระยะที่-3
http://laemchabangportphase3.com/port_01.html
http://laemchabangportphase3.com/port_02.html
http://laemchabangportphase3.com/port_03.html
https://baania.com/th/article/คมนาคม-ดึงเอกชนร่วมลงทุน-เร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง-เฟส-3
https://www.prachachat.net/local-economy/news-123335