รายละเอียดโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
ที่ตั้ง |
ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บนเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ |
|
|
วัตถุประสงค์ |
1) เพื่อเพิ่มความจุในการขนถ่ายสินค้าก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวของท่าเรือมาบตาพุด
2) เพื่อให้มีท่าเรือสาธารณะให้บริการเพิ่มขึ้น
3) เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
4) เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
|
|
|
ลักษณะการดำเนินโครงการ |
มีการดำเนินงานโดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (Public Private Partnership: PPP) |
|
|
องค์ประกอบโครงการ |
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน |
|
ส่วนที่ 1 งานโครงสร้างพื้นฐาน
ประกอบด้วย การขุดลอกและถมทะเล การขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ
|
|
ส่วนที่ 2 งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ
ประกอบด้วย 6 ท่าเทียบเรือ ได้แก่ ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่า ท่าเทียบเรือบริการ 1 ท่า และคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติอีก 1 แห่ง
|
มูลค่าโครงการ |
ประมาณ 55,400 ล้านบาท (เฉพาะช่วงที่ 1 มูลค่า 45,480 ล้านบาท) |
|
|
ระยะเวลาโครงการ |
ประมาณ 30 ปี (รวมการก่อสร้างและให้บริการ) |
สำหรับแผนการพัฒนาโครงการมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ได้รับความสนใจจากหน่วยงานเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการ จำนวน 18 ราย และอีก 1 กลุ่มกิจการร่วมค้า โดยมีผู้ยื่นซองประมูลเพียงรายเดียว คือ กิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ ซึ่งเกิดจากการร่วมกันของ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และบจก.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บมจ.ปตท. (PTT) มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 70 ต่อ 30 ตามลำดับ โดยในเดือน พ.ค. 2562 กนอ. ได้ข้อสรุปในค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนโครงการแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอเรื่องต่อ กพอ. และ ครม. เห็นชอบ โดยจะดำเนินการส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาสัญญาของโครงการฯ ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเข้าพัฒนางานช่วงที่ 1 ในส่วนโครงสร้างพื้นฐานได้ประมาณเดือน ก.ค. 2562
สำหรับการพัฒนาโครงการฯ ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2) ซึ่งเป็นการลงทุนในส่วนของการก่อสร้างท่าเรือเพื่อขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และสินค้าเหลวสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566
จากความมุ่งหมายของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่ต้องการเพิ่มปริมาณการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นอีก 19 ล้านตันต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งหลังจากดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งก่อให้เกิดการกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย