ปิด

วัคซีนโควิด-19 โดยสยามไบโอเซนส์กับโอกาสการขยายธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมจากนักลงทุนทั่วโลก

วัคซีนโควิด-19
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยปัจจุบันและการพัฒนาวัคซีนโควิด-19

ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันไวรัสโควิด-19 ด้วยความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศที่ต่างมุ่งเน้นเพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อและการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ซึ่ง ณ วันนี้ (31/1/2021) มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 103,132,381 คน เสียชีวิตสะสม 2,229,405 คนและรักษาหายแล้วกว่า 74,756,577 คน นับว่าเป็นการระบาดครั้งใหญ่รองลงมาจากไข้หวัดสเปนเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อสะสม 18,782 คน กำลังเข้ารับการรักษา 7,090 คนเสียชีวิต 77 คนและรักษาหายแล้ว 11,615 คน 

ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศอังกฤษ บริษัทแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเวชภัณฑ์จากประเทศอังกฤษได้เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีน เพื่อผลิตและจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยทำการเลือกบริษัท สยามไบโอเซนส์ ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธย ที่ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อปี พ.ศ.2552 โดยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนาและผลิตยา เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพนานาชนิดเพื่อคนไทย ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ของไทยที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลกจึงได้รับความไว้วางใจจาก บริษัทแอสตร้าเซเนก้า ให้เป็นฐานการผลิตยาต้านไวรัสนี้ขึ้นมา เพื่อผลิตและจำหน่ายยาต้านไวรัสดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารจัดการควบคุมโรคระบาดของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าอยู่ในระดับดี ถือเป็นผลดีต่อพี่น้องชาวไทยที่จะได้รับการฉีดวัคซีนในราคาที่ย่อมเยาว์กว่าประเทศอื่น ๆ 

เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีส่งผลลัพธ์ทางบวกต่อการลงทุนในทุกภาคส่วน

สิ่งที่น่าจับตามองได้แก่เทคโนโลยีทางการแพทย์และการผลิตวัคซีนที่ได้รับจาก บริษัทแอสตร้าเซเนก้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการถ่ายทอดอย่างเร่งด่วนเพราะหากเริ่มนับหนึ่งใหม่จะใช้ระยะเวลานานและที่สำคัญที่สุดบุคคลากรจะต้องมีความรู้และความสามารถพอสมควร ด้วยโรงงานขนาดใหญ่และมีกำลังการผลิตวัคซีนจำนวนมาก 200 ล้านโดส บริษัท สยามไบโอเซนส์ จึงมีความเพียบพร้อมสำหรับการผลิตวัคซีนในครั้งนี้ รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนและความรู้ต่าง ๆ สามารถที่จะนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาและรับมือกับโรคระบาดในอนาคตได้และประเทศไทยเองยังได้รับการจับตามองจากภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาคขนส่ง, การแพทย์และการพยาบาล, อสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องมีที่พักสำหรับผู้เข้าทำการรักษาและพักฟื้น ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารเพื่อผู้ป่วยและการบริโภคอื่น ๆ 

การจัดการที่ดีต่อปัญหาโควิด สร้างโอกาสการลงทุนจากต่างชาติได้อย่างยั่งยืน

ซึ่งหากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 นี้ลงได้ ก็จะเกิดผลดีอื่น ๆ ตามมามากมาย อาทิ การลงทุนในรูปแบบอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตของยาต้านไวรัส อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพราะเมื่อคนมั่นใจในเรื่องของวัคซีน การรักษา การบริหารจัดการและการคัดกรองที่ดีก็จะทำให้คนกล้าที่จะมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมไปถึงค้าปลีกและส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ เพราะคนไทยด้วยกันเองก็จะไม่หวาดแระแวงซึ่งกันและกัน รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านที่จะได้ไม่ต้องนำเชื้อเข้ามาในประเทศไทยอีก โดยในลำดับแรกคาดว่าธุรกิจที่จะได้รับผลประโยชน์น่าจะเป็นในส่วนของธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า, อาคารสำนักงานหรือโกดังสินค้า เนื่องจากในช่วงแรกจะได้ไม่ต้องลงทุนมากและมุ่งเน้นเพื่อทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว ด้วยการขนส่งทางรางที่รัฐกำลังเร่งดำเนินการจะเป็นอุปสงค์ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ด้วยการกระจายสินค้าออกจาไปยังภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของภูมิภาคนั่นเอง

ความมุ่งเป็น Medical hub ของประเทศไทย

เดิมที่ประเทศไทยสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดในอดีตที่ผ่านได้อย่างดีเยี่ยม เช่น ไข้หวัดซาร์ส, โรคเมอร์ส ซึ่งเคยระบาดมาก่อนหน้านี้ แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายสาขา จึงทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเดินทางมารับการรักษาจนหายอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก จนกระทั้งเมื่อปี พ.ศ.2547 กระทรวงสาธรณสุขได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนา โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) จนกระทั้งในปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็น 4 ศูนย์หลักได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ, ศูนย์กลางบริการสุขภาพ, ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัยและศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีการวางเป้าหมายไว้ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2559-2568)

ปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติคือความรู้ ความสามารถของบุคคลกร มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย วิธีการรักษาเป็นไปตามมาตฐานสากลและสิ่งสำคัญที่สุดคือราคาที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับการรักษาในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยมาตรฐานเดียวกัน เมื่อประเทศไทยสามารถยกระดับการรักษาทางการแพทย์จนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เม็ดเงินมหาศาลจะตามมามากมายจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิกฤตของการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

ที่มาข้อมูล