ปิด

จ่อปิดดีล แหลมฉบังเฟส 3 เอกชนร่วมทุนยักษ์ใหญ่ เตรียมเซ็น 84,000 ล้านบาท

แหลมฉบังเฟส 3
แนะนำโครงการ EEC และท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
Eastern Economic Corridor (EEC) หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ Eastern Seaboard ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาและยั่งยืน ปัจจุบันกำลังเป็นที่สนใจของเอกชนยักษ์ใหญ่หลายเจ้าที่ต้องการเซ็นสัญญาและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรองรับความต้องการในการขนส่งสินค้าทางทะเลที่จะมีมากขึ้นในอนาคต โดยเป็นการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและสิ่งอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ท่าเรือเทียบชายฝั่ง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

คาดบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ที่จะเซ็นสัญญา
โดยล่าสุด 3 บริษัทยักษ์ใหญ่จ่อปิดดีล เซ็นสัญญาแหลมฉบังฯเฟส 3 กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ซึ่งประกอบไปด้วย G = บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) P = บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด และ C = บริษัท ไชน่าร์ฮาเบอร์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด ซึ่งคาดการณ์ว่ามูลค่าการลงทุนมากถึง 84,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โปร่งใสและเพื่อประเทศไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุด ก่อนที่จะนำเสนอร่างดังกล่าวส่งให้คณะรัฐมนตรี พิจารณา อนุมัติลงนามสัญญาต่อไป 

รายงานความคืบหน้าของโครงการ
จากรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2564 ล่าสุดพบว่ามีความคืบหน้าของโครงการที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  โดยมีการลงทุนรวมที่ได้รับการอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 94% ของเป้าหมาย 5ปีอยู่ที่ 1.7 ล้านล้าน ถือว่าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
  1. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอกชนร่วมทุนหรือ PPP  ได้แก่ รถไฟ, สนามบิน, ท่าเรืออุตสาหกรรม 2 แห่ง 
  2. การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปัจจุบันลงทุนจริงแล้วกว่า 85% (ข้อมูลจากการออกบัตรส่งเสริม BOI)
  3. การลงทุนผ่านงบบูรณาการ EEC มูลค่ากว่า 82,000 ล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกของปี 2564 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 232 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปี 63 ถึง 53% และได้รับการอนุมัติไปแล้ว 195 โครงการในเขต นิคมอุตสาหกรรม และออกบัตรส่งเสริมไปแล้ว 187 โครงการ โดยโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคืออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในขณะที่อุตสาหกรรมการลงทุนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีเงินลงทุนมากที่สุดและนักลงทุนต่างชาติที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ญี่ปุ่น จีนและฮ่องกง 

จะเห็นว่าอุตสาหกรรมที่กล่าวมาข้างต้นสอดคล้องกับข้อมูลการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์เป็นอย่างมาก อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่น ๆ จาก BOI และ การ นิคมอุตสาหกรรม สามารถตอบโจทย์ของนักลงทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี จึงทำให้การเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC เร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งคาดว่าหลังเกิดวิกฤตโควิดจะมีนักลงทุนเข้าขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มอีก 

ความสำคัญของโครงการ EEC
โดยทางคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) มีแผนพัฒนาโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เพื่อดันให้เขตพื้นที่ EEC เป็นเมืองดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้ รวมถึงเป้าหมายการยกระดับรายได้ชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ EEC ให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมบริการและดันให้ GDP ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 

ทาง สวนอุตสาหกรรม 304 เปิดให้บริการโรงงานสำเร็จรูปและที่ดินให้เช่า พร้อมบริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งสาธารณูปโภคครบครัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอีกด้วย 

ที่มาของข้อมูล