ปิด

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ครึ่งหลังปี 2564 แนวโน้มฟื้นตัวตามตลาดโลก

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ที่มาของรูป : https://bit.ly/3oSBNgx

ในปี 2564 อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เห็นได้จากตัวเลขการผลิต การจำหน่ายและการส่งออกรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ที่ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 และยังมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักและจากนโยบายลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของค่ายรถรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 อุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังหลายรายการที่มีแนวโน้มส่งผลลบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังนี้

1. ภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เดือนมิถุนายน 2564 
การผลิตรถยนต์ 
จากข้อมูลรายงานสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยของศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์ พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดย ณ เดือน มิถุนายน 2564  ปริมาณการผลิตรถยนต์ทุกประเภท 134,245 คัน เพิ่มขึ้น 87% จากในเดือน มิ.ย. 2563 ที่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 71,704 คันและหากเปรียบเทียบปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2564 ซึ่งอยู่ที่ 844,601 คัน พบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 606,132 คัน หรือเพิ่มขึ้น 39% อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ม.ค.- มิ.ย. 2562 ซึ่งยังไม่พบการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย พบว่าปริมาณการผลิตรถยนต์ของลดลง 21% 

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
จากตัวเลขปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ณ เดือน มิ.ย. 2564 พบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดย ณ เดือน มิ.ย. 2564 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศเท่ากับ 64,974 คัน เพิ่มขึ้น 12% % จากในเดือน มิ.ย. 2563 ที่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ 58,049 คันและหากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2564 ซึ่งอยู่ที่ 372,961 คัน พบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 328,640 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13% แต่ยังน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ม.ค.- มิ.ย. 2562 ที่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ 523,770 คัน อยู่ 29% ทั้งนี้สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ xEV หรือกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ในเดือนมิถุนายน 2564 มีปริมาณรวม 3,585 คัน เพิ่มขึ้น 107% จากปี 2563 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเข้าใจและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากขึ้น

ข้อมูลการส่งออก
จากตัวเลขปริมาณการส่งออกรถยนต์ ณ เดือน มิ.ย. 2564 พบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดย ณ เดือน มิ.ย. 2564 ปริมาณการส่งออกรถยนต์ เท่ากับ 83,022 คัน เพิ่มขึ้น 66% % จากในเดือน มิ.ย. 2563 ที่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 50,049 คันและหากเปรียบเทียบการส่งออกรถยนต์ ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2564 ซึ่งอยู่ที่ 473,489 คัน พบว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่ 350,550 คันหรือเพิ่มขึ้น 35% แต่ยังน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ม.ค.- มิ.ย. 2562 ที่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 559,861 คัน อยู่ 15%

2. วิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ครึ่งหลังปี 2564
จากข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 มีแนวโน้มการฟื้นตัวจากปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักโดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง กลุ่มประเทศโอเชียเนีย ยุโรปและประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากการมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการจัดสรรวัคซีนได้ทั่วถึงประชาชนมากขึ้นในแต่ละประเทศที่ดีขึ้น ทำให้สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและจากการที่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นปรับแผนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์บางรุ่นเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ปรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 1.55 ล้านคัน เป็น 1.60 ล้านคันและการส่งออกรถยนต์ เพิ่มขึ้นจาก 0.75 ล้านคัน เป็น 0.80 ล้านคัน ส่วนการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศคงเดิมที่ 0.75 ล้านคัน

3. ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยลบ ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วงครึ่งปีหลัง 2564
ปัจจัยสนับสนุน
  1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญ ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 
  2. ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์บางรุ่นเพื่อส่งออกไปต่างประเทศและส่งกลับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
ปัจจัยลบ
  1. การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต
  2. ต้นทุนค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น 
  3. การแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ต้นทุนต่ำจากจีนและอินโดนีเซีย

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ให้กับค่ายรถของต่างประเทศหลายราย ทำให้ประเทศไทยยังอยู่ในความสนใจของนักลงทุนและต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ต่อเนื่อง ด้วยความพร้อมในด้านทักษะ ฝีมือ แรงงาน สาธารณูปโภค นิคมอุตสาหกรรม นโยบายสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมเปิดรับนักลงทุนในธุรกิจยานยนต์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อพูดถึงพื้นที่รองรับการเปิดอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อขยายธุรกิจ ปัจจุบันนี้ทางด้าน สวนอุตสาหกรรม 304 ผู้นำในการพัฒนาที่ดินเพื่อรองรับอุตสาหกรรม มีทั้งที่ดินเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคครบวงจรและมีความพร้อมที่จะรองรับอุตสาหกรรมใหม่ได้หลากหลาย ซึ่งนับว่าเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย

ที่มาข้อมูล :