ธุรกิจขนส่งถือเป็นหัวใจหลักของการขายสินค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และแบบออฟไลน์ เพราะเป็นการส่งสินค้าจากผู้ขายไปถึงผู้รับ ถือเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนจำนวนมาก จะเห็นได้จากในช่วงวิกฤตโควิด-19 มีบริษัทขนส่งเกิดขึ้นมากมายทั้งในรูปแบบของการส่งสินค้า ส่งอาหาร รับจ้างซื้อของ หรือเป็นรถรับจ้างก็มีให้เห็นมากมายทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยเฉพาะ สวนอุตสาหกรรม ธุรกิจขนส่งข้ามจังหวัดไม่ว่าจะเป็นขนส่งสินค้าแบบปกติ การขนส่งอาหารสดแช่เย็นและแช่แข็ง คาดว่าจะเติบโตได้อีกในอนาคตเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและการขนส่งที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งธุรกิจนี้กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มาดูกันว่าบริษัทโลจิสติกส์เจ้าใหญ่ในไทยขณะนี้ มีเจ้าใดบ้าง
บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ร่วมแข่งขันธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่ง
- BEST EXPRESS หนึ่งในธุรกิจเฟรนไชน์ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง อาลีบาบา ผู้นำธุรกิจ e-commerce ระดับโลกจากประเทศจีน ที่ตั้งเป้า 5 ปี ในการสร้างจุดกระจายสินค้าทั่วประเทศและเทคโนโลยี สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านโลจิสติกส์และการขนส่งเป็นหลัก
- SCG EXPRESS เป็นความร่วมมือกับ SCG Yamato Express กับ SCG Cement-Building Materials) และ Yamato Asia Pte. ที่เป็นกลุ่มบริษัทขนส่งอันดับหนึ่งจากญี่ปุ่น โดยเข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทยและกำลังเปิดรับพาร์ทเนอร์เพื่อเป็นจุดรับ-ส่งสินค้าและกระจายสินค้าเพื่อให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
นอกจากนี้ยังมีบริษัทเซนทรัลที่จับมือกับบริษัทเฟรเซอร์สฯ ไทยที่เป็นบริษัทลูกของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) สร้างโลจิสติกส์แคมปัส รองรับการกระจายสินค้าในอนาคต เพื่อหนุนธุรกิจออนไลน์ให้ขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าหรือโกดังสำเร็จรูปทั้งในสวนอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจขนส่งในอนาคต
แนวโน้มธุรกิจจะเป็นอย่างไรภายหลังรายใหญ่เข้าร่วมแบ่งเค้ก
โอกาสทางธุรกิจขนส่งยังคงเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นอาจต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ก็มีทางเลือกให้สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจขนส่งนี้ได้ โดยการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับบริษัทขนส่ง เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้าหรือคลังสินค้ารองรับการจัดส่งสินค้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศ หรือโกดังห้องเย็นแช่อาหารสด อาหารสดแช่แข็ง เพราะบริษัทขนส่งหลายแห่งยังประสบปัญหาในเรื่องของการจัดส่งสินค้าไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะต่างอำเภอที่มิใช่เส้นทางหลักของบริษัทขนส่ง หรือ บขส. นอกจากนี้บางส่วนยังพบปัญหาในเรื่องของการจัดส่งที่ล่าช้าในส่วนของต่างอำเภออีกด้วย ดังนั้นหากใครสนใจลงทุนในธุรกิจขนส่งสามารถติดต่อเพื่อเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทขนส่งได้โดยรง โดยอาจเน้นไปที่ นิคมอุตสาหกรรม หรือ สวนอุตสาหกรรม ในต่างจังหวัดที่ยังไม่มีศูนย์กระจายสินค้าของธุรกิจขนส่งอยู่หรือมีในปริมาณน้อย ซึ่งพื้นที่ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม หรือ สวนอุตสาหกรรมเหมาะมากสำหรับทำเป็นโกดังก็ด้วยความเพียบพร้อมทางด้านคมนาคม อาคาร ความสะดวกในการจัดการบริหาร ฯลฯ เหล่านี้ก็จะเป็นช่องทางทำธุรกิจขนส่งเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทโลจิสติกส์ได้ไม่เลวเลยทีเดียว
ที่มาของข้อมูล :