ปิด

แนวโน้มธุรกิจอุปกรณ์ทางการแพทย์ กับการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย

Medical Equipment Business Trends
จากบทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรี คาดการณ์ว่าในปี 2564 ถึง 2565 แนวโน้มธุรกิจอุปกรณ์ทางการแพทย์จะเติบโตขึ้นเฉลี่ย 6.5 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการคาดการณ์จากจำนวนผู้ป่วยจากโรคระบาด covid-19 ที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น อีกทั้งเป็นข้อถกเถียงโดยทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีนที่แม้ว่าประชาชนได้รับการฉีดแล้วแต่ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แม้จะฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โดสแล้วก็ตาม ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนเสนอวัคซีนทางเลือกให้แก่ประชาชนที่ต้องการ ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มจะสูงขึ้นตามไปด้วย ยังไม่นับรวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองในการใช้เพื่อรักษาโรคไวรัสระบาดนี้ โดยอุปกรณ์สิ้นเปลืองที่ใช้สำหรับการฉีดวัคซีน ได้แก่ เข็มฉีดยา ถุงมือยาง แมสสำหรับป้องกันเชื้อ วัตถุดิบสำหรับผลิตหน้ากากอนามัย วัตถุดิบในการผลิตวัคซีนและอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวกับเครื่องมือและวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์  

ดังจะเห็นได้จากการเข้ามาลงทุนของบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ใน นิคมอุตสาหกรรม และ  สวนอุตสาหกรรม เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ (รายงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ boi) ซึ่งในอนาคตคาดว่าเชื้อไวรัส covid-19 นี้น่าจะยังคงอยู่ไปอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี จึงจะมีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสามารถกำจัดเชื้อไวรัสนี้ได้

ด้านการแข่งขัน 
ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียน สวนอุตสาหกรรม กับกรมพัฒนาธุรกิจ ในด้านการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์มากถึง 595 ราย (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2563)  และ 574 ราย เป็นธุรกิจ SME ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 29% ในขณะที่อีก 21 ราย เป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากถึง 71% ซึ่งโอกาสยังคงเปิดกว้างอยู่อีกมาก เพราะการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์มีความซับซ้อนและต้องอยู่ภายใต้การดูแลและกำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้ออกใบอนุญาตการผลิต/จำหน่าย/นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐาน จึงมีผู้ผลิตในปริมาณที่น้อยรายอยู่ ซึ่งอัตราส่วนในการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกมีอัตราส่วน 30:70  โดยตลาดส่งออกส่วนใหญ่ที่นำเข้าสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเยอรมนี ในขณะที่ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศมีมากถึง 8,000 ราย ทำให้การแข่งขันในกลุ่มตัวแทนค่อนข้างรุนแรง เพราะการจดทะเบียนเพื่อเป็นตัวแทนและจำหน่ายนั้นสามารถทำได้ง่ายกว่า  

ในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ โดยอ้างอิงจากสถิติของกรมสุขภาพจิตที่คาดการณ์ว่าในปี 2564 นี้ ไทยจะมีคนอายุ 60 ปี สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศและในอีก 10 ปีถัดไป หรือปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด ทำให้ตลาดสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ดูแลผู้สูงอายุเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมใน นิคมอุตสาหกรรม มีการขออนุญาตการลงทุนจาก boi เพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา 
ที่มาของข้อมูล :