ปิด

การลงทุนภาคเอกชนไตรมาสแรกปี 2564 โต 80% กลุ่มการแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์หนุนยอดภายใต้สถานการณ์ Covid-19

การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพอมีข่าวดีให้ชื่นใจได้บ้างเมื่อได้รับสัญญาณข่าวที่ดีเกี่ยวกับการลงทุนของภาคเอกชนในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2564 จากบีโอไอว่า มีการขอรับการส่งเสริมมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือโตมากกว่า 80% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์และอิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตสูงสุด ในขณะที่พื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม ในเขต EEC ยังคงเนื้อหอม เพราะต่างมีนักลงทุนเข้าไปจับจองพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของการ นิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย หรือ กนอ. ที่เผยผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าการลงทุนรวมสูงถึง 106,146.56 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 78,758.09 ล้านบาท หรือคิดเป็น 287.56%     

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในครั้งนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่มียอดลงทุนสูงถึง 18,430 ล้านบาท เติบโตมากกว่า 100 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2563 ส่วนอันดับสอง ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 17,410 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ปัจจัยที่ทำให้ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมเติบโตได้มากที่สุด ได้แก่ 
  • ความต้องการในสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานในการป้องกัน ดูแลและรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโควิด 
  • กระแส Work From Home ที่มีการยืดระยะเวลาออกไป เนื่องจากการระบาดที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ซึ่งคาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดพื้นที่สีแดงที่มีการระบาดของโรคไวรัสอย่างรุนแรงออกไปอีก ส่งผลให้ประชาชนเริ่มกักตุนสินค้าโดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับอานิสงค์ดังกล่าวด้วย  

เขตอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายในการลงทุนยังคงเป็นพื้นที่ในเขต นิคมอุตสาหกรรม และ สวนอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ทั้งนำเข้าและส่งออกในสินค้าบางประเภท ความสะดวกในเรื่องการ Supplier และ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีโครงการยื่นขอจดทะเบียนส่งเสริมเติบโตมากกว่าร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน โดยแบ่งพื้นที่จังหวัดออกเป็น ระยอง, ชลบุรี และฉะเชิงเทรา 

มาตรการกระตุ้นการลงทุนของไทยปี 2564 
สำหรับมาตรการกระตุ้นการลงทุนของ BOI ปี 2564 มีผลตั้งแต่การขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันแรกของปี 2564 ถึงวันสุดท้ายของปี 2564 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

- กิจการที่ขอรับการส่งเสริมต้องอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ 
  • A1 : อุตสาหกรรมฐานความรู้ เน้นการออกแบบทำ R&D เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • A2 : กิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ กิจการที่ใช้เทคโนโลยีสูง อุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญที่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุน
  • A3 : กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีความสามารถต่อการพัฒนาประเทศโดนมีฐานการผลิตอยู่บ้างแล้ว 
- ต้องลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท ภายในระยะเวลา 12 เดือน หลังออกบัตรส่งเสริม
- จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล 50 % เป็นระยะเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ 

นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิพิเศษอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งโรงงานว่าอยู่ใน สวนอุตสาหกรรม หรือ นิคมอุตสาหกรรมหรือไม่ ซึ่งนักลงทุนสามารถติดตามสิทธิพิเศษทางภาษีและอื่น ๆ ได้จาก www.boi.go.th  หรือขอรับคำแนะนำจากที่ปรึกษาการลงทุนของสวนอุตสาหกรรม 304 ได้โดยตรง ในช่องทาง  https://www.304industrialpark.com/contact-us หรือ เบอร์โทรศัพท์ +66 81 304 3041