หลายคนคงเคยได้ยินกับคำว่า IoT หรือ Internet of Things กันมาพอสมควรแล้ว ซึ่งเป็นแนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมเพื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ตลอดจนกระบวนการผลิตทั้ง supply chain เพื่อเชื่อมต่อกับโลกดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้จากโรงงานใน นิคมอุตสาหกรรม ชื่อดังหลายแห่งนำมาใช้ จนนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและปรับใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ IIoT หรือ Industrial Internet of Things
Industrial Internet of Things คืออะไร
Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาพร้อมเทคโนโลยีการผลิต เข้ามาทำงานร่วมกับคนผ่านการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสื่อสาร ที่สามารถวิเคราะห์ จัดเก็บข้อมูล ติดตามและประมวลผลที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถและขีดจำกัดของการแข่งขัน ที่สามารถลดต้นทุน ลดเวลาการทำงานและสามารถพยากรณ์การซ่อมแซมบำรุงรักษาล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการ Down Time ของเครื่องจักรได้ ซึ่งระบบ IIoT สามารถเชื่อมต่อระบบสื่อสารตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงสำนักงานและทุกคนในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่ผู้บริหารหรือคนทำงานสามารถนำข้อมูลที่ได้รับนั้นไปปรับปรุงแก้ไขให้สินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากโรงงานใน นิคมอุตสาหกรรม บางแห่งที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตมากยิ่งขึ้น
IIoT เข้ามายกระดับโรงงานใน นิคมอุตสาหกรรม ได้อย่างไร
การใช้ระบบตรวจจับหรือเซ็นเซอร์ในสายการผลิตเชื่อมต่อกับระบบ IoT เพื่อประมวลผลและคาดการณ์พยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับความสึกหรอของเครื่องจักรและชิ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลก่อนที่จะกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมว่าสมควรเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นนั้น ก่อนที่จะส่งผลให้เครื่องจักรทำงานผิดพลาดและเกิดความเสียหายได้ หรือการตรวจจับความร้อน การสั่นสะเทือนที่มีผลต่อการผลิต เพื่อที่จะได้หยุดยั้งการทำงานของเครื่องจักรได้ทันเวลา ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานแบบเรียลไทม์และรายงานผลการทำงานไปยังเครือข่ายที่ได้รับการออกแบบไว้ เช่น ระบบคลาวด์, SMS, Line และแอปพลิเคชันสื่อสารอื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารไปยังพนักงานที่ควบคุมการผลิตเครื่องจักรนั้น การคำนวณระยะเวลาการผลิตและประมวลผลถึงความสามารถในการผลิตต่อชั่วโมง (capacity per hour) จึงทำให้วางแผนงานในส่วนอื่น ๆ ต่อได้
การเติบโตของอุปกรณ์และส่วนประกอบสำคัญของ IIoT และ สวนอุตสาหกรรม
ภายหลังจากที่มีการพัฒนาระบบ IIoT สวนอุตสาหกรรม หลายแห่งเริ่มปรับตัว มีการสร้างโรงงานอัจฉริยะขึ้น มีการวิจัยข้อมูลทางการตลาดของ Market and Market ในปี 2015 พบว่า ตลาด IIoT มีมูลค่าสูงถึง 113 พันล้านเหรียญสหรัฐและมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2022 จะมีมูลค่าโดยรวมมากกว่า 195พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีการเติบโตเฉลี่ย 7.9%ต่อปี ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของ Smart Factory และระบบ Automation เช่น แผงวงจร PCB, IC, Diodes ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ จนพัฒนาไปสู่ supply chain ที่สำคัญ ๆ อย่าง Solid State Drive หรือ ฮาร์ดิส SSD ที่มีขนาดเล็ก บาง ก่อนจะพัฒนามาเป็น NVMe ที่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วกว่าหลายเท่า นอกจากนี้ยังมี Gadget อื่น ๆ ที่ใช้ในบ้านเรือนและของใช้ส่วนตัวจำนวนมากที่สามารถใช้งานผ่าน Application และระบบ IoT ได้
ที่มาของข้อมูล