ปิด

คืบหน้ารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เร่งส่งมอบพื้นที่แล้วกว่า 86% คาดเปิดใช้งานได้ภายในปี 2568

Progress of high-speed rail linking 3 airports

ที่มาของรูป :  https://www.pexels.com/photo/white-electric-train-2169286/

โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมต่อสนามบินดอนเมือง อู่ตะเภาและสุวรรณภูมิ ที่มีมูลค่าสูงกว่า 250,000 ล้านบาท เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่ EEC  ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานตลอดระยะเวลาการก่อสร้างมากถึง 16,000 อัตรา และธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 100,000 อัตรา คาดว่าจะมีผลตอบแทนการลงทุนครั้งนี้ประมาณ 650,000 ล้านบาท 

ความคืบหน้าล่าสุด สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่ได้จากการเวนคืนและรื้อถอนได้มากกว่า 86% ที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการทำสัญญากับทาง รฟท. เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564 นี้  เอกชนคู่สัญญาเริ่มทำการออกแบบและเตรียมอาคารสำนักงาน  บ้านพักคนงาน ก่อสร้างถนน สะพานชั่วคราวเพื่อเตรียมการก่อสร้าง รวมถึงโรงหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างทางวิ่งในบางส่วนแล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568ตามแผ่นเร่งรัด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการจากลงทุนในธุรกิจพื้นที่ EEC 
สำหรับนักลงทุนที่มีความสนใจจะเข้าร่วมธุรกิจและลงทุนในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม EEC นอกจากจะได้รับความสะดวกในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

    1. หากมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับ จากการลงทุนร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับธุรกิจในกลุ่ม A1-A2-A3 และเพิ่มเติมอีก 2 ปี ในกิจการหมวดที่ 8 และกิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในหมวดที่ 8 
    2. แบ่งตามสถานที่ตั้งโครงการ ดังนี้
    • เขตส่งเสริมการแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) 
    • เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd)
    • เมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City หรือ EEC-A)
    • เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi) 
    • ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) (EECmd)

สิทธิประโยชน์ ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 2 ปี สำหรับธุรกิจในกลุ่ม A1-A2-A3 และเพิ่มเติมอีก 1 ปี ในกิจการหมวดที่ 8 และกิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในหมวดที่ 8 หากที่ตั้งโครงการอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในพื้นที่จังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนักลงทุนสามารถติดตามและดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการได้รับการส่งเสริมและสิทธิทางภาษีในกิจการในหมวด 8 เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ประกอบไปด้วย 
  • ประเภท 5.6 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
  • ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา
  • ประเภท 7.13 กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม
  • ประเภท 7.14 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์
  • ประเภท 7.15 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน
  • ประเภท 7.19.1 กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ
โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา เท่านั้น