จากรายงานอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 อยู่ที่ระดับ 33.498 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นค่าเงินบาทที่อ่อนที่สุดในรอบ 3 ปี ภายหลังจากเฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มที่จะลดวงเงิน QE ลงในกลางปี 2565 เป็นไปได้ว่าเฟดอาจขยับการขึ้นดอกเบี้ยไวขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปกดดันมาก่อนหน้านี้
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อน
- สถานการณ์เศรษฐกิจในฝั่งยุโรปและอเมริกาที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดี ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เฟดเริ่มส่งสัญญาณการลดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบและทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งตัวขึ้น จนเกิดความกดดันต่อค่าเงินในภูมิภาคอาเซียนนี้
- ประเทศไทยยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัส จึงทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช้า จึงทำให้นักวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจปรับลดการฟื้นตัวของไทยลง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเน้นพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป
- เศรษฐกิจเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่ได้อานิสงค์จากการส่งออก เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย จึงทำให้ค่าเงินอ่อนน้อยกว่าประเทศไทย
กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนตัว
กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนตัว ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, รถยนต์และส่วนประกอบ, ยาง, เมล็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ โดยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีสินค้าไทยส่งออก 5 อันดับแรกดังนี้
- รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 451,521.60 ล้านบาท
- เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 318,514.30 ล้านบาท
- ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าการส่งออก 230,531.40 ล้านบาท
- เมล็ดพลาสติก มูลค่าส่งออก 162,268.20 ล้านบาท
- เคมีภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 138,459.00 ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจที่รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อน
สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงได้แก่ ธุรกิจที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย, วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต, น้ำมัน เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากบาทอ่อนและถือเป็นหัวใจหลักของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรม หรือ สวนอุตสาหกรรม เนื่องจากภายในนิคมอุตสาหกรรม เหล่านั้นจะมีบรรดา Maker หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้หมดกังวลเรื่องการเฟ้นหาวัตถุดิบหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในการผลิตเพื่อส่งออก อีกทั้งหากได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจาก BOI ก็จะได้รับส่วนลดทางภาษีต่าง ๆ รวมถึงผลประโยชน์ที่ทาง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมอบใหม่ โดยเฉพาะ สวนอุตสาหกรรม ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC
ซึ่งทางสวนอุตสาหกรรม 304 เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาที่ดินเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตทุกรูปแบบ เปิดให้บริการโรงงานสำเร็จรูป, ที่ดินให้เช่าพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคครบครัน โดยมีพื้นที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมพิเศษ EEC และได้รับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการ BOI อีกด้วย
ที่มาข้อมูล