ปิด

มองเศรษฐกิจไทยในปี 2565 เติบโตหรืออ่อนแอ?

An outlook on the Thai economy in 2022
ภายหลังจากที่มีการเปิดเผย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2565 วงเงินมากถึง 3.1 ล้านล้านบาท ให้สภาได้พิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2564 นี้ โดยมีใจความสำคัญที่น่าจับต่อมองเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจดังนี้

ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 338,547.6 ล้านบาท เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการเกษตรกรรม เช่น เกษตรอัจฉริยะ, เกษตรชีวภาพ การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เมืองอัจฉริยะ ส่งเสริมเทคโนโลยีและเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม พร้อมนวัตกรรมและการวิจัยที่ทันสมัยและด้านอื่น ๆ  จะเห็นได้ว่าแนวโน้มในการพัฒนาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ 

จากยุทธศาสตร์ดังกล่าวคาดว่าจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากที่มีการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19และการฉีดวัคซีนให้ประชาชนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ สวนอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและโลจิสติกส์  เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว สินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นสำหรับดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างที่จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากการหยุดชะงักที่มีผลมาจากการล็อคดาวน์ของภาครัฐ ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มจะขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2565 ภายใต้ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ แต่ด้วยแรงสนับสนุนจาก พ.ร.ก.เงินกู้และงบประมาณปี 2565 คาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้เกิดแนวโน้มในการใช้จ่ายที่ดีขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย  ซึ่งแตกต่างจากเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มที่จะลดการทำ QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ววันนี้

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปี 2565

    • การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนทั่วโลก แม้จะมีการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป
    • ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่ลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งหลังสุด
    • ตลาดแรงงานภาคบริการและอาชีพอิสระที่รายได้มีแนวโน้มลดลงและเกิดการวางงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    • กำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศที่ยังอ่อนแอ 
    • ปริมาณการฉีดวัคซีนของประชาชนในประเทศไม่ตรงตามเป้าหมาย

ซึ่งรัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจด้วยการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้มากที่สุด เพื่อที่ภาคธุรกิจจะได้กลับมาดำเนินกิจการได้ต่อ เพื่อให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุน โดยเฉพาะใน สวนอุตสาหกรรม และ นิคมอุตสาหกรรม ที่เป็นกำลังหลักในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่แรงงานทุกคน เพราะในปัจจุบันการส่งเสริมจาก BOI และสิทธิพิเศษอื่น ๆ เตรียมพร้อมให้หมดแล้ว เพียงแต่นักลงทุนยังขาดความเชื่อมั่นในการควบคุมและบริหารจัดการไวรัสโควิด-19 นี้อยู่

ที่มาของข้อมูล

  • https://bbstore.bb.go.th/cms/1620611906_3624.pdf
  • https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_5Jul2021.aspx
  • https://www.morningstarthailand.com/mobile/Article.aspx?Site=th&articleid=212568