ปิด

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันหลังโควิดและปรับโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อความอยู่รอด

Analyzing the competitiveness after COVID-19
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องปรับลดขนาดขององค์กรเพื่อปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลายธุรกิจจำเป็นต้องปิดตัวลงเนื่องจากสายป่านไม่ยาวพอเพราะทนแบกรับรายจ่ายไม่ไหว ส่วนกิจการที่อยู่รอดอาจเพราะมีประสบการณ์ในการผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาก่อนหรือมีการปรับตัวให้สอดคล้องยุค New Normal ด้วยบริการจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงงานใหม่เปลี่ยนมาเป็นการเช่าพื้นที่โรงงานใน สวนอุตสาหกรรม หรือโรงงานสำเร็จรูปที่พร้อมดำเนินธุรกิจได้นทันที เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกของธุรกิจได้เป็นอย่างมาก อย่าลืมว่าค่าก่อสร้างโรงงานพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันค่อนข้างสูงมาก การเริ่มธุรกิจใหม่ด้วยขนาดกระทัดรัดโดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมากกว่าที่จะมาเสียเงินนับร้อยล้านบาทในการสร้างโรงงานใหม่ขึ้น 

ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การพลิกผันทางธุรกิจ 

ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับมาได้เมื่อไร ตราบที่การระบาดของโรคยังไม่ลดลง ผู้คนยังคงดำเนินชีวิตอย่างหวาดระแวงและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะไม่รู้ว่าทุกอย่างจะกลับไปเหมือนเดิมได้เมื่อไหร่ การขายออนไลน์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญที่สจะช่วยการพลิกผันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายรายสร้างช่องทางใหม่ให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า หรือบริการผ่านทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย อย่างการเลือกทำเล นิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ใกล้แหล่งตลาดมากขึ้นเพื่อปรับปรุงระบบการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและกลับมาใช้บริการซ้ำอีก จึงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องแม้จะไม่มากเท่าเดิมแต่ช่วยประคองตัวให้อยู่รอดต่อไปได้


4 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากในยุคโควิด 

ธุรกิจอาหาร ค้าปลีก ธนาคาร และการท่องเที่ยวเป็น 4 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค จากที่ผ่านมาพบว่าร้านอาหารและร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจที่ปรับรูปแบบการค้าขายได้ดีที่สุด ขณะที่ระบบธนาคารออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ธนาคารพานิชย์บางแห่งมีการปรับลดอัตราพนักงานลงแล้วนำระบบ AI Machine เข้ามาช่วยให้เกิดความรวดเร็วยในการทำงานมากยิ่งขึ้น จะมีก็แต่ธุรกิจการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะซบเซาต่อไปอีกสักระยะหนึ่งหรือจนกว่าคนในประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงและปริมาณการติดเชื้อจะต้องลดลงอย่างมีนัยยะด้วย ซึ่งคาดว่าภายหลังจากยุคโควิดผู้คนจะหันมาให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพกันมากขึ้น รวมถึงการจัดส่งที่รวดเร็วและปลอดภัยเพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด

หลังคลายล็อกดาวน์แล้ว เศรษฐกิจจะฟื้นหรือไม่

ภายหลังจากการฟื้นตัวของวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้ แม้การฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจจะยังไม่ชัดเจนในวิกฤตรอบนี้แตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2541 เป็นอย่างมาก เพราะคนที่ได้รับผลกระทบในครั้งก่อนเป็นคนมีฐานะและเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ แต่ในครั้งนี้คนที่ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ คือคนมีรายได้น้อย ทำให้กำลังซื้อหดหายไปเป็นอย่างมาก ส่วนธุรกิจที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นขั้นพื้นฐานและเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่มีความฟุ่มเฟือย แม้แต่การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตก็จะเน้นหนักไปที่การเช่าโรงงาน หรือพื้นที่ว่างใน นิคมอุตสาหกรรม มากกว่าลงทุนซื้อที่ดินหรือใช้เงินจำนวนมากในการก่อสร้างอาคารและโรงงานขึ้นมาใหม่  โดยมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าคุณภาพ บริหารจัดการระบบโลจิสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ มีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรม ใกล้เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา 

ปรับโมเดลธุรกิจใหม่ตอบรับผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างไร

ในอนาคตเราจะได้เห็นการปรับลดขนาดขององค์กร การนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อตัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงงาน โดยเฉพาะโรงงานอัจฉริยะสำเร็จรูปที่เจ้าของธุรกิจเพียงนำเครื่องจักรมาติดตั้งก็สามารถเริ่มผลิตสินค้าได้ในทันที หมดกังวลเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ทำให้คุณลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างมาก เช่น โรงงานสำเร็จรูปใน สวนอุตสาหกรรม 304 ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ท่าเรือแหลมฉบัง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีประชากรจำนวนมาก เพราะนอกจากจะมีผู้บริโภคจำนวนมากแล้วด้านตลาดแรงงานก็มีปริมาณมากไม่แพ้กัน

ที่มาข้อมูล: