พื้นที่ยุทธสาสตร์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ข้อได้เปรียบจากที่ตั้งของสวนอุตสาหกรรม 304
ทำเลที่ตั้งตรงจุดศูนย์กลางการคมนาคมสู่ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน กรุงเทพมหานคร และนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรแรงงานหลักของประเทศ
สวนอุตสาหกรรม 304 ตั้งอยู่ในพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมของจังหวัดปราจีนบุรีและศูนย์กลางการคมนาคม ใกล้กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงความสะดวกสบายในการขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบัง สนามบินสุวรรณภูมิ และจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูสู่แหล่งแรงงานขนาดใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นข้อได้เปรียบสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 14-21 เมตร ทำให้ปราศจากปัญหาอุทกภัย
ทำเลที่ตั้งท่ามกลางกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น สวนอุตสาหกรรม 304 ได้วางรูปแบบของอุตสาหกรรมการผลิตครบวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียงไม่กี่ชั่วโมงไปยังแหล่งผู้ผลิตส่วนประกอบยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นั่นหมายความว่า สวนอุตสาหกรรมแห่งนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ รวมไปถึงสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในท้องที่หรือภูมิภาคนั้นๆ ด้วย
ทำเลที่ตั้งบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Economic Corridor ประตูสู่การลงทุนครั้งใหม่ของภูมิภาคอินโดจีน และเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion
เนื่องจากการรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งส่งให้ประเทศไทยกลายเป็นทำเลทองที่ทวีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น สวนอุตสาหกรรม 304 ก็เช่นกันในแง่ของศักยภาพและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนทำเลที่ตั้งบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Economic Corridor (SEC) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสู่เมืองหลวงของกัมพูชา (พนมเปญ) และเวียดนาม (นครโฮจิมินห์) ได้ การลงทุนกับเราจึงเท่ากับการสร้างความได้เปรียบในการเข้าถึงพื้นที่การลงทุนใหม่ๆ ของภูมิภาคอินโดจีน
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) คือพื้นที่เศรษฐกิจทางธรรมชาติ ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นจุดร่วมรวมดินแดน 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร และประชากรกว่า 326 ล้านชีวิตไว้ด้วยกัน
ทำเลที่ตั้งของ สวนอุตสาหกรรม 304 จะนำคุณเข้าถึงทั้งผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งวัตถุดิบ และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโครงข่ายเส้นถนนบนพื้นที่โครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้ จะครอบคลุมกว้างไกลและช่วยให้คุณเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์และสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างสะดวกสบาย
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง The Greater Mekong Subregion (GMS) คืออะไร
ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมถึงมณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ไทย และเวียดนาม
ในปี 1992 ทั้ง 6 ประเทศได้เข้าร่วมการดำเนินการด้านเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค ซึ่งออกแบบมาเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Asian Development Bank หรือ ADB
ด้วยความช่วยเหลือจากทั้งธนาคารดังกล่าวรวมถึงผู้บริจาครายอื่นๆ โครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ได้ช่วยให้เกิดการบรรลุผลสำเร็จของโครงการสำคัญทั้งในด้านการคมนาคม พลังงาน โทรคมนาคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การค้า การลงทุนของภาคเอกชน ตลอดจนด้านการเกษตรอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ นับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของ GMS ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา โครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมูลค่าถึง 11 พันล้านเหรียญสหรัฐหลายโครงการสำเร็จลงอย่างดี หลายโครงการกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือโครงการพัฒนาทางหลวงเส้นพนมเปญ (กัมพูชา) – นครโฮจิมินห์ (เวียดนาม) และแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor ซึ่งจะขยายจากทะเลอันดามันสู่ดานังในที่สุด
พื้นที่อนุภูมิภาคแห่งนี้ยังรวมพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ไว้ตลอดผืนป่าจากคาบสมุทรมลายูมาจนถึงประเทศไทย ตลอดจนไกลออกไปยังเทือกเขาหิมาลัย และตามแนวหุบเขาแม่น้ำกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยป่าผลัดใบไม่ต่างจากในประเทศอินเดีย ระดับน้ำทะเลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดสิบล้านปีที่ผ่านมา ได้ฝากมรดกแห่งความอุดมสมบูรณ์ไว้ในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการแยกตัวเป็นเอกลักษณ์ บนเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาอันนัม ในเขตประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย และเวียดนาม
แหล่งทรัพยากรเหล่านี้เอง ช่วยเอื้อให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่ทำการเกษตรแบบยังชีพในอนุภูมิภาคแห่งนี้ สามารถหารายได้และดำรงชีวิตอยู่ได้ ผืนดินได้มอบผลผลิตจากป่าไม้ แร่ ถ่านหิน และน้ำมันปิโตรเลียม ขณะที่แม่น้ำหลายสายช่วยหล่อเลี้ยงทั้งการเกษตรและประมง ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตพลังงานจากพลังน้ำอีกด้วย แหล่งถ่านหินสำรองในพื้นที่ก็มีปริมาณมหาศาล เช่นเดียวกับแหล่งน้ำมันและก๊าซสำรองหลายแห่ง ซึ่งเกือบทั้งหมดนี้ อยู่ในเขตประเทศเมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม นับเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ยังถูกใช้ไปเพียงไม่มาก
การพัฒนาอุตสาหกรรมและการปรับตัวสู่ความทันสมัย ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ผ่านความเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปต่างๆ นั่นคือ ประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงค่อยๆ เปลี่ยนจากการทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย และใช้กลไกการตลาดมากขึ้น ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าที่เติบโตเข้มแข็งขึ้นของทั้ง 6 ประเทศ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการค้าระหว่างชายแดน การลงทุน และการเคลื่อนที่ของแรงงาน ยิ่งไปกว่านั้น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังน้ำ กำลังจะได้รับการพัฒนาเพื่อนำมาใช้เป็นฐานสำคัญให้กับอนุภูมิภาค
ความสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติแถบลุ่มแม่น้ำโขง จึงทำให้เกิดพรมแดนใหม่แห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่า ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงนี้ มีศักยภาพพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เติบโตรุดหน้ารวดเร็วที่สุดพื้นที่หนึ่งของโลก