ภาวะโลกร้อน เกิดจากชั้นบรรยากาศของโลกถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ เป็นตัวหลัก แก๊สเหล่านี้มีคุณสมบัติจับกับคลื่นความร้อนที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์มากักเก็บไว้แล้วไม่ปล่อยออกนอกบรรยากาศโลก ความร้อนที่มีจึงถูกอบไว้คล้ายกับอยู่ภายในเรือนกระจก ผลที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัดคืออุณหภูมิโลกสูงขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีภัยเงียบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกหรือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยการใช้นโยบายคาร์บอนเครดิต จึงถูกยกมาเป็นประเด็นสำคัญของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตแก๊สเรือนกระจกรายใหญ่
คาร์บอนเครดิตคือปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้ ซึ่งสามารถ ซื้อขาย-แลกเปลี่ยนในตลาดคาร์บอน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักว่าการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมีราคาที่ต้องจ่าย โดยเป้าหมายหลักของการลดแก๊สเรือนกระจกคือควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
โดยตลาดคาร์บอนแบ่งออกเป็น ภาคบังคับและภาคสมัครใจ ภาคบังคับจะถูกกำหนดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ตามภาคผนวก B (Annex B) ของพิธีสารเกียวโต ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ตลาดคาร์บอนจึงเป็นแบบภาคสมัครใจ โดยสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ เรียกกลไกนี้ว่า "กลไกพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)
- คาร์บอนเครดิตสำคัญอย่างไรในภาคอุตสาหกรรม
ภาคอุตสาหกรรมใช้พลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว การออกแบบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจึงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศกลุ่มนี้ ซึ่งได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยมีบทลงโทษหากไม่สามารถลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ ส่วนใหญ่ก็จะไม่สามารถลดได้มากนัก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การปรับเปลี่ยนระบบต้องค่อยเป็นค่อยไป จึงต้องซื้อสิทธิการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแทน
ในประเทศไทยมีองค์การบริหารจัดการแก๊สเรือนกระจก (อบก.) ที่เป็นตัวกลางในการดำเนินโครงการลดแก๊สเรือนกระจกภาคสมัครใจ (Thailand Voluntary Emission Reduction Program; T-VER) โดยคาร์บอนเครดิตจากหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการนี้ สามารถใช้เพื่อชดเชยการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของตนเองหรือขายให้กับผู้ที่ต้องการได้ มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในโครงการนี้สูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่จัดตั้งโครงการเมื่อปี 2559 นอกจากนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา แสดงให้เห็นถึงความต้องการธุรกิจพลังงานสะอาดอีกมาก และยังมีโอกาสต่อยอดไปยังตลาดโลกได้อีกด้วย
นโยบายการสร้าง สวนอุตสาหกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างธุรกิจโดยใช้พลังงานสะอาด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยและต่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการลดแก๊สเรือนกระจก ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดย บริษัท เอ็นพีเอส กรีน อีเนอร์จี จำกัด (NPS) ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจวิศวกรรม ร่วมมือกับ บริษัท 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด (304IP) จัดสร้าง สวนอุตสาหกรรม เน้นไปที่พลังงานสะอาด เหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาวิธีลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน
หากภาคธุรกิจใดสนใจลงทุนในตลาดคาร์บอน การมองหา นิคมอุตสาหกรรม ที่มีแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม สวนอุตสาหกรรม 304 ก็เป็น นิคมอุตสาหกรรม ที่ตอบโจทย์นี้ได้
ที่มาข้อมูล