CLOSE

ยกระดับอุตสาหกรรมด้วย Solar Flating แหล่งพลังงานใหม่ของไทย

ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน Renewable Energy หรือพลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกด้านพลังงานที่กำลังถูกพูดถึงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นพลังงานที่มีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติที่ใช้ไม่มีวันหมด ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงมีแผนนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์แทนพลังงานที่เกิดจากฟอสซิล ถ่านหิน ทรายน้ำมัน หินน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ สำหรับพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยม ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) พลังงานลม (Wind Energy) พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) พลังงานมวลชีวภาพ (Biomass Energy) และพลังงานน้ำ (Hydroelectric Energy) 

ความสำคัญของ solar energy ต่อภาคอุตสาหกรรม

พลังงานหมุนเวียนที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยมากที่สุด แน่นอนว่าหนีไม่พ้น Solar  Energy หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในภาคครัวเรือน โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) บนหลังคาบ้านและต่อไฟฟ้ากระแสตรงเข้าบ้านเพื่อใช้งานในทันทีหรือเก็บสะสมในแบตเตอรี่ไว้ใช้งานภายหลังก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามนอกจากใช้งานในครัวเรือน โซลาร์เซลล์ยังถูกนำไปใน สวนอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ เพราะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

  • เป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีจำกัด
เหตุผลโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ นอกจากจะเป็นพลังงานที่ใช้ไม่มีวันหมดแล้ว ยังเป็นพลังงานที่ใช้ได้โดยไม่มีวันหมดและไม่จำกัด เพราะตราบใดที่มีแสงจากพระอาทิตย์ก็สามารถเก็บพลังงานไว้ใช้ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบพลังงานและค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงเหมือนการใช้พลังงานรูปแบบเดิม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ นิคมอุตสาหกรรม ที่มีการใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลา 

  • ราคาถูก คุ้มค่าต่อการลงทุน
จากข้อมูลการประเมินของ Bloomberg New Energy Finance พบว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีราคาต่อหน่วยต่ำที่สุดและสามารถนำไปใช้กับระบบไฟฟ้าได้ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้นถ้าเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐานจะมีอายุใช้งานประมาณ 25 ปี และที่สำคัญมีระยะคืนทุนอยู่ที่ 7 – 8 ปีเท่านั้น 

  • ตามเทรนด์โลกเรื่องพลังงานสะอาด
พลังงานสะอาดหรือ Clean Energy ถือว่าเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังยกให้เป็นวาระระดับโลก เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ทำให้มีการสงเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมและ สวนอุตสาหกรรม ทั่วโลก หันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์

  • มีโอกาสได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ 
เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีนโยบายส่งเสริมเรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานสะอาด และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนอกจากเป็นการประหยัดพลังงานและเสริมสร้างภาพลักษณ์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีโอกาสได้รับการส่งเสริมจากทางภาครัฐอีกด้วย

แนะนำว่า solar energy มีกี่ประเภท

ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา เพราะเป็นรูปแบบที่ใช้กันในครัวเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก แต่ในความจริง solar energy มีหลายประเภท ได้แก่ 

  • Solar Rooftop หรือ โซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา
การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับติดตั้งใช้งานในบ้านพักอาศัยหรือสถานที่ที่ใช้กระแสไฟไม่มากต่อวัน ซึ่งข้อดีคือ สามารถออกแบบ กำหนดจำนวน และติดตั้งได้ด้วยตัวเอง 

  • Solar on ground หรือ โซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน
เป็นการนำแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่และจำนวนมากไปเรียงต่อกันบนพื้นดินเพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นปริมาณมากต่อวัน โซล่าเซลล์รูปแบบนี้จึงเหมาะสำหรับผลิตใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

  • Floating Solar หรือ โซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนพื้นน้ำ
เป็นรูปแบบที่คล้ายกับ Solar on ground แต่เปลี่ยนจากติดตั้งบนพื้นดินเป็นการนำแผงโซล่าเซลล์จำนวนมากไปเรียงต่อกันบนพื้นน้ำเพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งแหล่งน้ำจืดและทะเล เหมาะสำหรับใช้งานโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน

ความสามารถของ Floating Solar ในเชิงอุตสาหกรรม

Floating Solar หรือที่สื่อเรียกว่า “โซล่าร์ฟาร์มลอยน้ำ” เป็นพลังงานงานสะอาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เป็นรูปแบบการผลิตพลังงานที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจาก Floating Solar มีจุดเด่นในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
  • เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณมากต่อวัน ทำให้หมดกังวลเรื่องพลังงานหมุนเวียนในโรงงานขนาดใหญ่ อย่าง นิคมอุตสาหกรรม
  • เหมาะกับลักษณะพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งเฉพาะแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า 30% ไม่นับรวมพื้นที่ในทะเลและชายฝั่ง ทำให้สามารถติดตั้งได้หลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลดีต่อการจ่ายไฟให้กับโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังไม่สูญเสียที่ดินไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย
  • ไม่มีชิ้นส่วนที่ติดตั้งแบบถาวร จึงสามารถรื้อถอนออกได้ง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
Floating Solar ใหญ่สุดในไทย และ top 10 ของโลกจาก NPS

หากถามว่าประเทศไทยมี Floating Solar หรือไม่ คำตอบคือ ประเทศไทยมี Floating Solar ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว เป็น Floating Solar Farm ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและติด top 10 โลก ผลงานของ Floating Solar Farm ของบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS บริษัทธุรกิจพลังงานและพลังงานหมุนเวียน ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี โดยระยะที่ 1 มีขนาด 60 MW บนบ่อน้ำขนาด 1,200 ไร่ ส่วนระยะที่ 2 มีขนาด 90 MW ซึ่งเมื่อรวมกับการผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลที่ผลิตได้มากว่า 433 MW จะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

จะเห็นได้ว่า Floating Solar เป็นพลังงานสะอาดที่ตอบโจทย์การใช้งานในภาคอุตสาหกรรมโดยไม่ต้องสงสัย ซึ่งทาง NPS พิสูจน์ความจริงนี้ด้วยการร่วมมือกับสวนอุตสาหกรรม 304 (304 Industial Park : 304IP) ในการจัดตั้งบริษัทจัดการกับ สวนอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพด้านพลังงานภายใน 304IP ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการขายพื้นที่ด้วยพื้นที่พร้อมใช้งานให้กับผู้ประกอบทั้งไทยและต่างชาติด้วย

ที่มาข้อมูล